[เคล็ดลับ] วิธีต่อทะเบียนรถยนต์หมดอายุเกิน 2 ปี
แย่แล้ว! เผลอลืมตัวจนปล่อยให้ทะเบียนรถหมดอายุนานเกิน 2 ปี เป็นแบบนี้จะยังต่อทะเบียนรถยนต์ใหม่อีกรอบได้อยู่ไหมเนี่ย?
คุณไม่ต้องกังวลใจเลย! ถึงแม้ว่าจะไม่ต่อทะเบียนเป็นเวลานาน แต่รถยนต์ของคุณก็ยังสามารถเดินเรื่องต่อทะเบียนใหม่ได้อย่างแน่นอน ซึ่งประกันติดโล่รวบรวมวิธีการมาให้คุณแล้ว เรามาดูกันเลยว่าต้องทำยังไงบ้าง!
ขาดต่อทะเบียนรถยนต์นาน ต้องเสียค่าปรับหรือไม่?
การไม่ได้ต่อทะเบียนรถยนต์เป็นเวลานาน ถือว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฏหมาย เพราะฉะนั้นจึงต้องทำการเสียค่าปรับอย่างแน่นอน
- สำหรับรถยนต์ที่ทะเบียนขาดเกิน 2 ปี แต่ไม่ถึง 3 ปี จะมีอัตราค่าปรับที่ต้องจ่ายตามจำนวนปีที่ค้าง โดยคิดตามจำนวนซีซีของรถยนต์
- แต่สำหรับกรณีที่ขาดการต่อทะเบียนรถยนต์เกิน 3 ปี ก็ต้องจ่ายค่าปรับตามจำนวนปีที่ค้างเช่นเดียวกัน เพียงแต่รถยนต์คันนั้นจะถูกระงับป้ายทะเบียน! ต้องทำเรื่องส่งคืนป้ายทะเบียนภายใน 30 วันนับตั้งแต่วันที่ถูกระงับ ซึ่งถ้าเกินระยะเวลาจะถูกคิดค่าปรับไม่เกิน 1,000 บาทเพิ่มเติมอีก! แถมยังต้องเปลี่ยนเลขทะเบียนใหม่ทั้งหมดอีกด้วย
เตรียมตัวอย่างไรเมื่อต้องต่อทะเบียนรถยนต์ขาดเกิน 2 ปี
เอาล่ะครับ! ถ้าพร้อมที่จะนำรถยนต์ไปต่อทะเบียนแล้วล่ะก็ เรามาดูกันเลยว่าจะมีวิธีการอย่างไรบ้าง
-
เอกสารสำคัญต้องเตรียม!
ขั้นตอนที่สำคัญที่สุดสำหรับการต่อทะเบียนรถยนต์ที่อายุขาดนั้น ก็คือการเตรียมเอกสารเพื่อนำไปยื่นนั่นเอง โดยการจัดเตรียมเอกสารจะสามารถแบ่งออกได้ ตามนี้เลยครับ
สำหรับรถยนต์ที่ทะเบียนขาดเกิน 2 ปี แต่ไม่ถึง 3 ปี เอกสารต่าง ๆ ที่ต้องเตรียมนั้น มีดังนี้
- เล่มทะเบียนรถยนต์ตัวจริง พร้อมสำเนา
- พ.ร.บ. รถยนต์ (สำหรับรถยนต์ที่ พ.ร.บ. ขาด อ่านวิธีการต่อ พ.ร.บ. ได้ที่นี่)
- ใบรับรองการตรวจสภาพรถจากกรมขนส่ง (สำหรับรถยนต์ที่มีอายุ 7 ปีขึ้นไป)
สำหรับรถยนต์ที่ทะเบียนขาดเกิน 3 ปี เอกสารต่าง ๆ ที่ต้องเตรียมนั้น มีดังนี้
- เล่มทะเบียนรถตัวจริงที่ถูกระงับทะเบียนแล้วแล้ว พร้อมสำเนา
- บัตรประชาชนตัวจริงของเจ้าของรถ พร้อมสำเนา
- พ.ร.บ. รถยนต์
- หลักฐานการซื้อขายรถยนต์ (สำหรับรถยนต์ที่ไม่ได้จดทะเบียนในชื่อเจ้าของเดิม)
อย่าลืมเตรียมเอกสารเหล่านี้ให้ครบถ้วนก่อนยื่นเรื่องไปยังกรมการขนส่งทางบก เพื่อความรวดเร็วในการดำเนินการนั่นเอง
-
อยากต่อทะเบียนรถต้องไปที่ไหน?
สำหรับการต่อทะเบียนรถยนต์ที่ขาดเป็นเวลานานเกิน 2 ปีนั้น สามารถดำเนินการได้ตามสถานที่ต่าง ๆ ดังนี้
- ดำเนินการด้วยตัวเองที่ กรมการขนส่งทางบก
- บริการรับชำระภาษีใน ที่ทำการไปรษณีย์
- บริการรับชำระภาษีที่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
- บริการรับชำระภาษีที่ ศูนย์ให้บริการเคาน์เตอร์เซอร์วิสทั่วประเทศ
- ศูนย์ให้บริการชำระภาษีแบบ เลื่อนล้อต่อภาษี ( Drive Thru for Tax)
- บริการรับชำระภาษีในห้างสรรพสินค้าที่มีบริการ ช้อปให้พอ แล้วต่อภาษี (Shop Thru for Tax) จากกรมการขนส่งทางบก
-
อย่าลืมตรวจเช็คสภาพรถ!
ต้องขอเตือนอีกรอบว่า สำหรับรถยนต์ที่มีอายุการใช้งานเกิน 7 ปีนั้น จำเป็นที่จะต้องนำรถเข้ารับการตรวจสภาพรถก่อนจึงจะสามารถทำการยื่นเรื่องต่อทะเบียนรถยนต์ได้ครับ โดยสามารถเข้ารับการตรวจได้ที่กรมการขนส่งทางบก หรือ ตรอ. (สถานตรวจสภาพรถเอกชน) ทั่วประเทศ
โทษของการใช้งานรถยนต์ขาดต่อภาษี
สาเหตุที่ต้องพูดเรื่องนี้เป็นเพราะว่า มีหลาย ๆ คนที่รถยนต์ทะเบียนขาด แต่ก็ยังนำไปใช้ตามปกติอยู่ดี บอกเลยว่ากรณีนี้ถ้าโดนตำรวจเรียก มีโทษปรับจนอ่วมอย่างแน่นอน
โดยรถยนต์ที่ไม่ได้ต่อภาษีรถยนต์ หมายความว่าก็ต้องขาดต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ด้วย ทำให้ค่าปรับถูกแยกออกเป็น 2 ส่วนนั่นก็คือ ค่าปรับของการขาดต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ไม่เกิน 2,000 บาท และโทษของการไม่ต่อภาษีรถยนต์อยู่ที่ปรับไม่เกิน 10,000 บาท หากโดนปรับเข้าจริง ๆ ก็นับว่าเป็นเงินก้อนโตเลยทีเดียว
สรุป
เท่านี้ทุกคนก็น่าจะทราบกันแล้ว หากผู้ขับขี่รถที่ขาดการต่อทะเบียนรถยนต์เป็นเวลานาน ๆ จะต้องแก้ปัญหาอย่างไร
สิ่งที่ต้องจำให้ขึ้นใจคืออย่าให้รถยนต์ของคุณขาดต่อภาษีถึง 3 ปีเด็ดขาด! เพราะทะเบียนรถยนต์ของคุณจะอยู่ในสถานะถูกระงับทันที แล้วต้องคืนแผ่นป้ายทะเบียนรถให้ขนส่ง เพื่อทำการจดใหม่ซึ่งยุ่งยากกว่าเดิมหลายเท่า เพราะฉะนั้น คอยเตือนตัวเองอยู่เสมอและดำเนินการต่อทะเบียนให้เรียบร้อยทุกปีนะครับ
นอกจากนี้ รถยนต์ที่ยังไม่ได้ทำการต่อทะเบียน และ พ.ร.บ. จะทำการโอน หรือซื้อขายส่งต่อไม่ได้อีกด้วย เพราะฉะนั้น คอยเตือนตัวเองอยู่เสมอและจัดการให้เรียบร้อยจะดีที่สุดครับ
สำหรับใครที่กำลังมองหาช่องทางต่อภาษี และ พ.ร.บ. รถยนต์ออนไลน์ สามารถอ่านวิธีการได้ที่บทความนี้เลยครับ!