เบี้ยประกันชีวิตลดหย่อนภาษีได้เท่าไหร่ พร้อมเงื่อนไขต้องรู้

หลายคนคงรู้แล้วว่า ประกันชีวิตเป็นเครื่องมือทางการเงินที่สำคัญ สำหรับคนที่ต้องการวางแผนการเงินระยะยาว เพื่อสร้างความมั่นคงทางการเงินให้กับตนเองและครอบครัว รวมถึงเป็นการบริหารความเสี่ยงทางการเงินที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต นอกจากนี้ เบี้ยประกันที่ต้องจ่าย สามารถนำไปเป็นค่าลดหย่อนภาษีรายได้ได้อีกด้วย มาทำความเข้าใจกันว่า เบี้ยประกันชีวิตลดหย่อนภาษีได้เท่าไหร่ ประกันออมทรัพย์ลดหย่อนภาษีได้ไหม มาดูกันเลยครับ

ประกันชีวิตลดหย่อนภาษีได้ พร้อมเงื่อนไขการลดหย่อน

ประเภทประกันชีวิตลดหย่อนภาษี

ประกันชีวิตมีหลากหลายรูปแบบให้เราเลือกทำตามความต้องการ และตามความสามารถในการจ่ายค่าเบี้ยประกัน เป็นทางเลือกที่น่าสนใจของคนที่ต้องการวางแผนการเงิน และบริหารความเสี่ยงในชีวิตระยะยาว โดยเบี้ยประกันชีวิตสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ตามเงื่อนไขที่กรมสรรพากรกำหนด สรุปได้ดังนี้

  1. ประกันชีวิตลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี
  2. กรมธรรม์ประกันภัยต้องมีระยะเวลาคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป
  3. กรณีมีการจ่ายเงินผลประโยชน์คืนทุกปี เงินที่ได้รับต้องไม่เกิน 20% ของค่าเบี้ยประกันรายปี
  4. กรณีมีการจ่ายเงินผลประโยชน์คืนตามช่วงเวลา เงินที่ได้รับต้องไม่เกิน 20% ของเบี้ยสะสมของแต่ละช่วงเวลา
  5. กรณีผลรวมของเงินหรือผลประโยชน์ตอบแทนสะสมตั้งแต่ปีแรกถึงปีที่มีการจ่ายเงินหรือผลประโยชน์ตอบแทนคืน ต้องไม่เกินร้อยละ 20 ของเบี้ยประกันชีวิตสะสมทั้งหมดในช่วงระยะเวลาดังกล่าว
  6. ต้องเป็นการประกันชีวิตของตนเอง คู่สมรส หรือบุพการี
  7. บริษัทประกันต้องจดทะเบียนในประเทศไทย
  8. ถ้ายกเลิกสัญญา หรือเวนคืนกรมธรรม์ก่อนครบ 10 ปี จะไม่สามารถนำเบี้ยประกันมาลดหย่อนภาษีได้ และต้องจ่ายคืนภาษีที่ได้ใช้สิทธิ์ลดหย่อนไป พร้อมดอกเบี้ย 1.5% ต่อเดือน ของยอดภาษีที่จ่าย

โดยประกันชีวิต 4 แบบต่อไปนี้ สามารถนำค่าเบี้ยประกันไปลดหย่อนภาษีได้เท่าไหร่บ้าง? มาดูรายละเอียดกันเลยครับ

1. ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ (Whole Life)

ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ เป็นประกันที่ให้ความคุ้มครองตลอดชีวิตของผู้เอาประกัน โดยบริษัทประกันจะจ่ายเงินให้ผู้เอาประกันภัยในกรณีที่มีชีวิตอยู่ครบสัญญา หรือจ่ายเงินให้กับผู้รับประโยชน์ในกรณีผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต 

เบี้ยประกันชีวิตแบบตลอดชีพ ลดหย่อนภาษีได้เท่าไหร่?

  • สามารถนำเบี้ยประกันมาลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี
  • ต้องเป็นกรมธรรม์ที่มีระยะเวลาคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป
  • ต้องเป็นประกันที่มีเงื่อนไขตรงตามข้อกำหนดของสรรพากรตามข้างต้น

2. ประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา (Term Insurance)

ประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา เป็นประกันที่ให้ความคุ้มครองชีวิตในช่วงเวลาที่กำหนด เป็นระยะเวลาสั้นๆ โดยบริษัทประกันจะจ่ายเงินให้กับผู้รับประโยชน์ในกรณีผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตในระยะเวลาที่กำหนดเท่านั้น เช่น 1 ปี 5 ปี 10 ปี เป็นต้น ค่าเบี้ยประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา จึงมักถูกกว่าประกันรูปแบบอื่นๆ

เบี้ยประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลาลดหย่อนภาษีได้เท่าไหร่?

  • สามารถนำเบี้ยประกันมาลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี
  • ต้องเป็นกรมธรรม์ที่มีระยะเวลาคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป
  • ต้องเป็นประกันที่มีเงื่อนไขตรงตามข้อกำหนดของสรรพากรตามข้างต้น

3. ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ (Endowment)

ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ เป็นประกันที่ให้ทั้งความคุ้มครองชีวิต และยังได้ออมเงินไปพร้อมๆ กันด้วย สำหรับใครที่กำลังหาว่าจะลงทุนอะไรดี ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ แต่อาจมีผลตอบแทนต่ำกว่าการลงทุนรูปแบบอื่น

เบี้ยประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ ลดหย่อนภาษีได้เท่าไหร่? 

  • สามารถนำเบี้ยประกันมาลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี
  • ต้องเป็นกรมธรรม์ที่มีระยะเวลาคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป
  • ต้องเป็นประกันที่มีเงื่อนไขตรงตามข้อกำหนดของสรรพากรตามข้างต้น

4. ประกันชีวิตควบการลงทุน (Investment Linked Life Insurance)

ประกันชีวิตควบการลงทุน เป็นการรวมระหว่างประกันชีวิต และการลงทุนในกองทุนรวมเอาไว้ด้วยกัน ผู้เอาประกันภัยมีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่สูงกว่า แต่ก็มีความเสี่ยงที่มากกว่าด้วยเช่นกัน

เบี้ยประกันชีวิตแบบควบคุมการลงทุน ลดหย่อนภาษีได้เท่าไหร่?

  • สามารถนำเบี้ยประกันเฉพาะในส่วนของความคุ้มครองชีวิตมาลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี
  • ต้องเป็นกรมธรรม์ที่มีระยะเวลาคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป
  • ต้องเป็นประกันที่มีเงื่อนไขตรงตามข้อกำหนดของสรรพากรตามข้างต้น

เบี้ยประกันบํานาญลดหย่อนภาษีได้เท่าไหร่

นอกจากนี้ยังมีประกันบำนาญ ซึ่งเป็นประกันที่สามารถลดหย่อนภาษีได้สูงสุดถึง 200,000 บาทอีกด้วย ประกันบํานาญ เป็นประกันที่มีเงินจ่ายคืนรายปี ณ ผู้เอาประกันอายุ 55 ปี 60 ปี หรือ 65 ปี แล้วแต่แบบประกันโดยจ่ายคืนทุกปีจนถึงปีที่ครบกำหนดสัญญาหรือตลอดชีวิต เสมือนเป็นเงินบำนาญที่เอาไว้ใช้ในยามเกษียณ ซึ่งสามารถนำเบี้ยประกันไปลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท โดยมีเงื่อนไขว่าต้องไม่เกิน 15% ของเงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษีในปีนั้น

เบี้ยประกันสุขภาพลดหย่อนภาษีได้ไหม 

แล้ว ประกันสุขภาพลดหย่อนภาษีได้ไหม ปัจจุบันมีประกันสุขภาพหลากหลายทั้งเป็นแบบแพ็คเกจและเป็นแบบสัญญาเพิ่มเติม ซึ่งเบี้ยประกันสุขภาพนั้นสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ สำหรับเบี้ยประกันสุขภาพของตัวเอง สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 25,000 บาทต่อปี และเบี้ยประกันสุขภาพของพ่อแม่ ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท แต่ในกรณีที่เราทำทั้งประกันชีวิต และประกันสุขภาพด้วยนั้น เบี้ยประกันทั้งหมดสามารถนำไปลดหย่อนภาษี รวมกันแล้วได้สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี และถ้าที่ใครที่ทำทั้งประกันชีวิต ประกันสุขภาพ และประกันบำนาญด้วยนั้น เบี้ยประกันทั้งหมดสามารถนำไปลดหย่อนภาษี รวมกันแล้วได้สูงสุดไม่เกิน 300,000 บาทต่อปีเลย

สรุป ประกันชีวิต ประกันสุขภาพ ประกันบํานาญลดหย่อนภาษีได้

อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจทำประกันควรพิจารณาจากความคุ้มครองที่เหมาะสม และความสามารถในการจ่ายค่าเบี้ยเป็นหลักด้วย เพราะถ้าเราจ่ายค่าเบี้ยไม่ไหว จนต้องยกเลิกสัญญา หรือเวนคืนกรมธรรม์ก่อนครบ 10 ปี จะต้องจ่ายคืนภาษีที่ได้ใช้สิทธิ์ลดหย่อนไป พร้อมดอกเบี้ย 1.5% ต่อเดือนของยอดภาษีที่จ่ายอีกด้วยการวางแผนทางการเงินที่ดี ไม่เพียงแต่จะช่วยให้ชีวิตมีความมั่นคง แต่ยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้อีกด้วย หนึ่งในวิธีที่นิยมคือการทำประกันชีวิต และประกันสุขภาพ ที่นอกจากจะได้รับความคุ้มครองแล้ว ค่าเบี้ยประกันยังนำไปลดหย่อนภาษีได้ด้วยนั่นเอง

ที่มา: กรมสรรพากร



สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

บทความแนะนำ
  • ข้อสอบใบขับขี่พร้อมเฉลย ล่าสุด 2567
    รวมเฉลยข้อสอบใบขับขี่ 2566 อย่างละเอียด ไม่อยากสอบหลายรอบมาเตรียมตัวให้พร้อมก่อนสอบจริงกับแนวข้อสอบใบขับขี่ภาคทฤษฎี 50 ข้อพร้อมเฉลย
    232,510
  • รถเป็นรอยขูดทำไงดี เคลมประกันชั้น 1 ได้ไหม จ่ายค่าเสียหายส่วนแรกกี่บาท
    อยู่ๆ รถสุดที่รักก็โดนขูดเป็นรอยลึก หาตัวคนผิดก็ไม่ได้ คู่กรณีก็ไม่มี แล้วแบบนี้ประกันรถยนต์จะรับเคลมไหม ต้องจ่ายค่าทำสีรถใหม่เองหรือเปล่า ทำยังไงได้บ้าง?
    130,620
  • ไม่หลบรถพยาบาลเปิดไซเรน ระวังผิดกฎหมายรถฉุกเฉิน และเจตนาฆ่า!
    รถพยาบาลฉุกเฉินเปิดไฟวับวาบและเปิดเสียงไซเรน คุณควรหลีกทางให้รถพยาบาลแบบด่วนๆ เพราะถ้าฝ่าฝืนทำตัวขวางโลกรู้ไหมว่าผิดกฎหมายรถฉุกเฉิน และมีเจตนาฆ่าด้วย!
    129,989