รถชน รถล้มแผลถลอก เรียกค่าทำขวัญจากคู่กรณีได้ไหม

อุบัติเหตุบนท้องถนนเกิดขึ้นได้เสมอ แม้แต่อุบัติเหตุเล็กน้อยอย่างรถชนแล้วรถล้มแผลถลอก รถล้มปวดข้อมือจนส่งผลต่อการใช้ชีวิตได้ตามปกติ สร้างความเดือดร้อน และค่าใช้จ่ายที่ไม่คาดคิดตามมาให้กับผู้ประสบเหตุได้ ถ้าต้องเจอกับสถานการณ์เช่นนี้ จะมีสิทธิ์เรียกค่าทำขวัญจากคู่กรณีได้ไหม ประกันติดโล่จะมาไขข้อสงสัยเกี่ยวกับการเรียกร้องค่าทำขวัญกรณีรถล้มแผลถลอก เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย

ค่าทำขวัญคืออะไร เรียกค่าทำขวัญรถชนจากคู่กรณีได้ไหม

ตามกฎหมาย ค่าทำขวัญเป็นคำที่ไม่ได้มีบัญญัติไว้อย่างเป็นทางการ แต่ถ้าพิจารณาความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ ทำขวัญ หมายถึง ให้เงิน หรือสิ่งของเพื่อปลอบใจ หรือเพื่อชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้อื่น เสียเงินค่าปรับให้แก่ผู้ถูกทำร้าย หรือถูกหมิ่นประมาท

ดังนั้น “ค่าทำขวัญ” คือ จำนวนเงินที่มอบให้เพื่อบรรเทาความเสียหายทางจิตใจ หรือชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ผู้ที่ได้รับความเสียหาย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเยียวยา และบรรเทาความทุกข์ทรมานที่เกิดขึ้น

หากเกิดอุบัติเหตุ ตามกฎหมายเรียกร้องอะไรได้บ้าง

ค่าทำขวัญหรือค่าสินไหมทดแทนตามกฎหมาย

ตามกฎหมายแพ่ง สิ่งที่คุณจะเรียกร้องได้กรณีที่ได้รับความเสียหายจากการกระทำละเมิด จะเรียกว่า “ค่าสินไหมทดแทน” ซึ่งการเรียกค่าสินไหมจากคู่กรณีนี้ กฎหมายได้ให้อำนาจศาลเป็นผู้กำหนดค่าสินไหมทดแทนตามความเหมาะสม โดยคำนึงถึงพฤติการณ์ และความร้ายแรงของการกระทำละเมิด มักจะครอบคลุมค่าต่างๆ ดังนี้

  • ค่ารักษาพยาบาล ค่าตรวจวินิจฉัยโรค และค่าใช้จ่ายทางการแพทย์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
  • ค่าขาดประโยชน์ในระหว่างที่ไม่สามารถประกอบการงานได้ตามปกติ
  • ค่าเสียหายสำหรับความเจ็บปวด และทุกข์ทรมานที่ได้รับระหว่างการรักษา
  • ค่าเสียหายต่อคุณภาพชีวิต เนื่องมาจากความเสียหายที่ได้รับ
  • ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในอนาคตสำหรับการรักษาพยาบาลต่อเนื่อง 
  • ค่าเสียหายทางจิตใจ ในกรณีที่มีผลกระทบรุนแรงต่อสภาพจิตใจของผู้เสียหาย

ค่าทำขวัญกับค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถต่างกันยังไง

ค่าทำขวัญจะเป็นเงินเยียวยาความเสียหายทางจิตใจหรือร่างกาย ที่คู่กรณีมอบให้กับผู้เสียหายโดยตรง ในทางกลับกัน ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถจะเป็นเงินชดเชย หรือค่าสินไหมทดแทนที่ผู้เสียหายจะได้รับจากบริษัทประกันของคู่กรณีซึ่งเป็นฝ่ายผิดตามเงื่อนไขกรมธรรม์ เนื่องจากผู้เสียหายไม่สามารถใช้รถได้ตามปกติ ในช่วงที่รถอยู่ระหว่างซ่อม

รถล้มแผลถลอกเรียกค่าทำขวัญได้ไหม เรียกได้เท่าไหร่

รถล้มแผลถลอกเรียกค่าทำขวัญ

กรณีเกิดอุบัติเหตุรถชนจนได้รับบาดเจ็บจากรถล้ม การเรียกค่าทำขวัญจากคู่กรณีสามารถทำได้ แต่ค่าทําขวัญเรียกได้เท่าไหร่นั้นขึ้นอยู่กับการเจรจา และการตกลงร่วมกันระหว่างผู้เสียหายกับคู่กรณีโดยตรง หากคุณเป็นฝ่ายกระทำผิดเอง จะจ่ายหรือไม่จ่ายค่าทำขวัญก็ได้ขึ้นอยู่กับความสมัครใจ เพราะกฎหมายไม่ได้กำหนดให้ต้องจ่าย แต่ถ้าผู้เสียหายเป็นแผลถลอกรถล้ม แล้วมีการเรียกค่าทำขวัญ 30,000 บาท ซึ่งอาจดูมากเกินไป หรือในกรณีที่ตกลงกันไม่ได้ ก็สามารถฟ้องร้องเพื่อให้ศาลเป็นผู้ตัดสินต่อไปได้ครับ

รถล้มแผลถลอกเรียกค่าทำขวัญจากประกันได้ไหม

กรณีเกิดอุบัติเหตุรถชนจนรถล้มขาถลอก เข่าถลอก จะไม่สามารถเรียกค่าทำขวัญจากประกันคู่กรณีได้ ไม่ว่าจะเป็นประกันชั้นไหนก็ตาม แต่ผู้เสียหายสามารถเรียกค่ารักษาพยาบาล หรือค่าเสียหายได้ตามความคุ้มครองของประกันรถยนต์ หรือถ้ารถของคุณได้รับความเสียหายด้วย ก็สามารถเรียกค่าเสียหายของยานพาหนะจากอุบัติเหตุรถชนได้อีกด้วย

รถล้มเอง ไม่มีคู่กรณี เบิกอะไรได้บ้าง

กรณีบาดเจ็บจากรถล้มเอง ไม่มีคู่กรณี และไม่ได้ทำประกันอะไรไว้เลย ก็สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลจาก พ.ร.บ. ได้ ดังนี้

  • กรณีบาดเจ็บ จ่ายค่ารักษาพยาบาลตามจริงไม่เกิน  30,000 บาทต่อคน
  • กรณีเสียชีวิต / ทุพพลภาพถาวร / สูญเสียอวัยวะ จะได้รับวงเงินชดเชยสูงสุดไม่เกิน 35,000 บาทต่อคน
  • หากเข้าข่ายทั้งสองกรณี จะได้รับเงินชดเชยสูงสุดไม่เกิน 65,000 บาทต่อคน

ดังนั้น นอกจากการมีประกันรถยนต์แล้ว การต่อ พ.ร.บ. ในทุกๆ ปี ยังช่วยเพิ่มความอุ่นใจให้กับคนใช้รถใช้ถนนได้อย่างครอบคลุม พร้อมคุ้มครองทันทีเมื่อเกิดอุบัติเหตุ

สรุป รถล้มแผลถลอกเบิกประกันอุบัติเหตุได้

อย่างไรก็ตาม ผู้เสียหายควรเข้าใจด้วยว่า การเรียกร้องค่าทำขวัญ หรือค่าเสียหายที่อยู่นอกเหนือที่กฎหมายกำหนด หรือนอกเหนือความคุ้มครองของประกัน ควรอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง และไม่เกินกว่าความเสียหายที่เกิดขึ้น เพื่อความเป็นธรรมของทุกฝ่าย และสามารถจัดการกับสถานการณ์ตรงนั้นให้ผ่านไปอย่างราบรื่นมากที่สุด นอกจากการมีประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ และและภาคบังคับอย่าง พ.ร.บ. แล้ว การทำประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล ยังให้ความคุ้มครองอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นเล็กๆ น้อยๆ ไม่ว่าจะเป็นแผลถลอกรถล้มที่หน้า รถล้มปวดข้อมือ รถล้มเข่าถลอก ขาถลอก ที่ไม่ว่าจะมีคู่กรณีหรือไม่ คุณก็จะยังได้รับความคุ้มครองอย่างครอบคลุม ทั้งค่ารักษาพยาบาล และเงินชดเชยรายวัน โดยไม่ต้องสำรองจ่าย ที่ช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายได้ทันทีเมื่อเกิดอุบัติเหตุ



สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
สนใจ ประกันอุบัติเหตุ
การกดส่งข้อมูลแสดงว่าคุณอ่านและรับทราบ
นโยบายความเป็นส่วนตัว เรียบร้อยแล้ว

บทความแนะนำ

  • ข้อสอบใบขับขี่พร้อมเฉลย ล่าสุด 2567

    รวมเฉลยข้อสอบใบขับขี่ 2566 อย่างละเอียด ไม่อยากสอบหลายรอบมาเตรียมตัวให้พร้อมก่อนสอบจริงกับแนวข้อสอบใบขับขี่ภาคทฤษฎี 50 ข้อพร้อมเฉลย
    171,710
  • 10 รุ่นมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าขายในไทย

    10 รุ่น มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า 2024 น่าสนใจ ขายในไทย จดทะเบียนได้

    รวม 10 รุ่น มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าจดทะเบียนได้ มีขายในไทย 2024 พร้อมแนะนำวิธีเลือกมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าให้ตอบโจทย์การใช้งาน และการทำประกันรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า
    33,558
  • ใบขับขี่ประเภท 2 และใบขับขี่ บ.2 ท.2 ขับรถอะไรได้บ้าง?

    หากขับรถเพื่อขนส่งสินค้าต้องรู้ เพื่อเลือกทำใบขับขี่ประเภท 2 ไม่ว่าเป็นใบขับขี่ บ.2 หรือใบขับขี่ ท.2 ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย หากไม่อยากโดนปรับ
    28,128