พอตคืออะไร ปลอดภัยกว่าดูดบุหรี่จริงไหม ส่งผลต่อร่างกายยังไง
การดูดพอตได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในกลุ่มคนที่สูบบุหรี่อยู่แล้ว และคนที่ไม่เคยสูบมาก่อน ทั้งด้วยเรื่องเทรนด์ และความเชื่อที่ว่าการดูดพอตปลอดภัยกว่าการสูบบุหรี่ ไม่อยากเลิกบุหรี่หักดิบ จึงหันมาดูดพอตแทน แต่การดูดพอตปลอดภัยกว่าจริงไหม? ถ้าดูดบ่อยๆ จะส่งผลกระทบต่อร่างกายยังไงบ้าง? ประกันติดโล่จะพาคุณไปทำความรู้จักกับพอตให้มากขึ้นกันครับ
การดูดพอตคืออะไร
“พอต” (Pod) ประกอบด้วย 2 ส่วนสำคัญ คือ แบตเตอรี่ และตลับบรรจุน้ำยาพอต ที่สามารถเปลี่ยนได้เมื่อน้ำยาหมด ซึ่งการดูดพอต คือ การสูดดมไอระเหยที่เกิดจากการทำให้ของเหลวร้อนขึ้นจนกลายเป็นไอน้ำ ซึ่งของเหลวก็คือ น้ำยาพอต ที่มักประกอบด้วยนิโคติน โพรพิลีนไกลคอล กลีเซอรีน และสารแต่งกลิ่นรสต่างๆ การทำงานของพอตนั้นไม่ซับซ้อน เมื่อเริ่มสูบตัวเครื่องจะใช้กลไกไฟฟ้าทำความร้อนกับน้ำยาในตลับ ทำให้เกิดไอระเหยที่ผู้สูบสามารถสูดเข้าปอดได้ทันที
พอตกับบุหรี่มวนอันไหนอันตรายกว่ากัน
พอตหรือบุหรี่ไฟฟ้า ออกแบบมาให้ทำงานโดยไม่ต้องอาศัยกระบวนการเผาไหม้ จึงช่วยลดการปลดปล่อยสารพิษบางอย่างที่พบในควันบุหรี่ทั่วไป เช่น ทาร์และคาร์บอนมอนอกไซด์ สาเหตุสำคัญของโรคมะเร็ง และปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ หากถามว่าแล้วพอตอันตรายไหม? ต้องบอกว่า พอตยังมีส่วนประกอบอื่นๆ ที่เป็นอันตราย ซึ่งส่งผลเสียต่อร่างกายได้เช่นกัน
นอกจากนี้ ไอระเหยจากบุหรี่ไฟฟ้าประกอบด้วยอนุภาคที่มีขนาดเล็กมาก ที่จับเข้ากับเนื้อเยื่อปอดได้ง่ายกว่าควันบุหรี่ทั่วไป จึงดูดซึมอนุภาคเหล่านั้นเข้าสู่กระแสเลือดได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ร่างกายกำจัดสารเหล่านั้นออกได้ยาก ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวได้นั่นเอง
ผลกระทบจากการดูดพอตบ่อยๆ ต่อร่างกาย
ในน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าประกอบด้วยสารเคมีหลายชนิดที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ เช่น
- โพรพิลีนไกลคอล อาจก่อให้เกิดอาการระคายเคืองตา และระบบทางเดินหายใจ ทำให้มีอาการไอ ปวดหัว และคลื่นไส้
- กลีเซอรีน อาจทำให้เกิดอาการไอ และเหนื่อยหอบง่าย
- สารอันตรายอื่นๆ เช่น สารหนู โลหะหนัก และสารก่อมะเร็งหลายชนิด
นอกจากนี้ การดูดพอตยังส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน ระบบประสาท และเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคร้ายแรงต่างๆ เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่สูบ โดยเฉพาะโรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจวายเฉียบพลัน และภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ดังนั้น การดูดพอตบ่อยๆ จึงส่งผลกระทบต่อร่างกายทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ดังนี้
1. ผลกระทบในระยะสั้น
- อาการเสพติด: นิโคตินในพอต ทำให้เกิดการเสพติดได้อย่างรวดเร็ว
- ผลต่อระบบประสาทและสมอง: นิโคตินส่งผลโดยตรงต่อสมอง โดยกระตุ้นการหลั่งสารโดปามีน ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย และมีความสุขชั่วคราว แต่เมื่อฤทธิ์หมดลงจะทำให้เกิดอาการหงุดหงิด กระวนกระวาย และต้องการเสพซ้ำ นอกจากนี้อาจส่งผลต่อความจำ และสมาธิในระยะสั้นได้
- ผลต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด: การดูดพอตทำให้อัตราการเต้นของหัวใจ และความดันโลหิตเพิ่มขึ้น เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยผลกระทบในระยะสั้นอาจทำให้เกิดอาการใจสั่น เหนื่อยง่าย หรือหายใจลำบาก
2. ผลกระทบในระยะยาว
- เสี่ยงต่อโรคมะเร็ง: แม้ว่าพอตจะไม่มีการเผาไหม้เหมือนบุหรี่ทั่วไป แต่สารเคมีในน้ำยาพอตบางชนิด อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งในระยะยาว โดยเฉพาะมะเร็งปอด และมะเร็งช่องปาก
- ผลต่อระบบทางเดินหายใจ: การสูดไอระเหยจากพอตเป็นประจำ อาจทำให้เกิดการระคายเคืองในระบบทางเดินหายใจ นำไปสู่อาการไอเรื้อรัง หอบหืด หรือโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) ในระยะยาว
- ผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน: การดูดพอตบ่อยๆ อาจส่งผลเสียต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเพิ่มขึ้น หรือฟื้นตัวจากอาการเจ็บป่วยได้ช้ากว่าปกติ
นอกจากนี้ การดูดพอต ข้อเสียในระยะยาวยังอาจส่งผลต่อสุขภาพจิต เพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้า และวิตกกังวล รวมถึงส่งผลกระทบต่อพัฒนาการของสมองในวัยรุ่นอีกด้วย
สรุป ดูดพอตบ่อยๆ ส่งผลเสียต่อร่างกายเช่นกัน
การดูดพอตหรือบุหรี่ไฟฟ้า ไม่ได้ปลอดภัยอย่างที่หลายคนเข้าใจ แม้จะลดการรับสารพิษบางชนิดเมื่อเทียบกับบุหรี่มวนทั่วไป แต่ก็มีสารอันตรายอื่นๆ ที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยเฉพาะความเสี่ยงต่อโรคมะเร็ง โรคหัวใจ และโรคทางเดินหายใจการป้องกันความเสี่ยงจึงเป็นสิ่งสำคัญ นอกจากการลด ละ เลิกการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีนิโคตินทุกชนิดแล้ว การทำประกันมะเร็งเป็นอีกทางเลือกที่ช่วยลดภาระทางการเงินได้อย่างแน่นอน ให้คุณมั่นใจว่าจะได้รับการดูแลรักษาที่ดีที่สุด โดยไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายแม้จะเป็นโรคร้ายแรง ปรึกษาเจ้าหน้าที่ของประกันติดโล่เพื่อรับแผนประกันที่เหมาะกับความคุณ