ของเหลวขึ้นเครื่องบินได้เท่าไหร่ ทำยังไงถ้าเกินกว่าที่กำหนด

การเดินทางโดยเครื่องบินในปัจจุบันมีข้อจำกัดมากมาย โดยเฉพาะเรื่องการนำของเหลวขึ้นเครื่อง ซึ่งเป็นประเด็นที่ผู้โดยสารหลายๆ คนยังสับสนและมักพบเจอปัญหาเมื่อต้องผ่านด่านตรวจความปลอดภัย ใครที่มีแพลนจะเดินทางโดยใช้บริการสายการบิน ในบทความนี้ เราจะมาบอกถึงเหตุผลที่ต้องมีกฎระเบียบการนำของเหลวขึ้นบนเครื่อง พร้อมรวมมาตรการของแต่ละสายการบินภายในประเทศ ขนาดของเหลวขึ้นเครื่องได้เท่าไหร่ ที่ไหนมีข้อกำหนดเกี่ยวกับของเหลวยังไงกันบ้าง มาดูกัน

ทำไมถึงมีข้อจำกัด การนำของเหลวขึ้นเครื่องบิน

ย้อนกลับไปในปี 2549 มีการพบแผนก่อการร้าย โดยการนำของเหลวที่สามารถระเบิดได้มาก่อความวุ่นวายบนเที่ยวบินในสหราชอาณาจักรหรือประเทศอังกฤษ หลังจากนั้นมาองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) จึงได้กำหนดมาตรการสากลเกี่ยวกับการนำของเหลวขึ้นเครื่องบิน ซึ่งมีผลบังคับใช้ทั่วโลกตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2550 โดยกำหนดให้ของเหลวที่นำขึ้นเครื่องต้องมีปริมาณไม่เกิน 100 มล. ต่อชิ้น

ซึ่งเหตุผลที่กำหนดขนาดของเหลวขึ้นเครื่องไม่เกิน 100 มล. ต่อชิ้น นั่นก็เพราะว่าเป็นปริมาณที่น้อยเกินกว่าจะนำไปใช้เป็นส่วนประกอบของระเบิด และแม้ในปี 2567 เทคโนโลยีการตรวจสอบจะก้าวหน้าขึ้นอย่างมาก แต่มาตรการพกของเหลวขึ้นเครื่องในแต่ละสายการบิน ยังคงมีความสำคัญและถูกบังคับใช้อย่างเคร่งครัดในสนามบินทั่วโลก เพื่อรักษาความปลอดภัยให้กับผู้โดยสารทุกคน

สายการบินในไทย นำของเหลวขึ้นเครื่องได้ไม่เกินเท่าไหร่?

ของเหลวขึ้นเครื่อง

สำหรับสายการบินในประเทศไทย ส่วนใหญ่จะมีข้อกำหนดในการนำของเหลวขึ้นเครื่องตามมาตรการสากล แต่จะมีรายละเอียดบางส่วนที่แตกต่างออกไปขึ้นอยู่แต่ละสายการบิน ซึ่งใครที่กำลังอยากรู้ว่าสายการบินภายในประเทศ เจ้าไหนสามารถบรรจุขนาดของเหลวได้บ้าง และสามารถนำของเหลวขึ้นเครื่องห้ามเกินกี่ ml มาดูมาตรการของ 5 สายการบินยอดนิยมในไทยกันดีกว่า

1.มาตรการสายการบินแอร์เอเชีย (AirAsia)

มาตรการการนำของเหลวขึ้นบนเครื่องบินของสายการบินแอร์เอเชีย มีดังนี้

  • ปริมาณต่อชิ้น : ของเหลวแต่ละชิ้นต้องบรรจุในภาชนะที่มีความจุไม่เกิน 100 มล.
  • ปริมาณรวม : ของเหลวทั้งหมดรวมกันต้องไม่เกิน 1 ลิตร และไม่เกิน 10 ชิ้น
  • การบรรจุ : ของเหลวทุกชิ้นต้องถูกบรรจุอยู่ในถุงพลาสติกแบบใสที่มีซีลปิด
  • ขนาดถุง : ถุงพลาสติกใสต้องมีขนาดโดยรวมไม่ใหญ่กว่า 80 ซม. (กว้าง + ยาว + สูง)
  • จำนวนถุง : ผู้โดยสารแต่ละคนสามารถนำถุงพลาสติกขึ้นเครื่องได้เพียง 1 ใบเท่านั้น

2.มาตรการสายการบินนกแอร์ (Nok Air)

มาตรการการนำของเหลวขึ้นบนเครื่องบินของสายการบินนกแอร์ มีดังนี้

  • ปริมาณต่อชิ้น : ของเหลวแต่ละชิ้นต้องมีปริมาณไม่เกิน 100 มล.
  • ปริมาณรวม : จำนวนของเหลวขึ้นเครื่องทั้งหมดรวมกันต้องไม่เกิน 1,000 มล.
  • การบรรจุ : ของเหลวทุกชิ้นต้องถูกบรรจุอยู่ในถุงพลาสติกแบบใสที่มีซีลปิด
  • ขนาดถุง : ถุงพลาสติกใสต้องมีขนาดไม่เกิน 20 x 20 ซม. (กว้าง x สูง)
  • จำนวนถุง : ผู้โดยสารแต่ละคนสามารถนำถุงพลาสติกขึ้นเครื่องได้เพียง 1 ใบเท่านั้น

3.มาตรการสายการบินไทยไลอ้อนแอร์ (Thai Lion Air)

มาตรการการนำของเหลวขึ้นบนเครื่องบินของสายการบินไทยไลอ้อนแอร์ มีดังนี้

  • ปริมาณต่อชิ้น : ของเหลวแต่ละชิ้นต้องบรรจุขนาดไม่เกิน 100 มล.
  • ปริมาณรวม : ของเหลวทั้งหมดรวมกันต้องไม่เกิน 1 ลิตร
  • การบรรจุ : ของเหลวทุกชิ้นต้องถูกใส่รวมไว้ในถุงพลาสติกใสที่ปิดผนึกได้
  • ขนาดถุง : ถุงพลาสติกใสต้องมีขนาดไม่เกิน 20 x 20 ซม. (กว้าง x สูง)
  • จำนวนถุง : ผู้โดยสารแต่ละคนสามารถนำถุงพลาสติกขึ้นเครื่องได้เพียง 1 ใบเท่านั้น

4.มาตรการสายการบินเวียตเจ็ท (Vietjet Air)

มาตรการการนำของเหลวขึ้นบนเครื่องบินของสายการบินเวียตเจ็ท มีดังนี้

  • จำนวน : อนุญาตให้นำของเหลวขึ้นเครื่องได้ไม่เกิน 10 ชิ้น
  • ปริมาณรวม : ของเหลวทั้งหมดรวมกันต้องไม่เกิน 1,000 มล. (1 ลิตร)
  • การบรรจุ : ต้องใส่ของเหลวทั้งหมดไว้ในถุงพลาสติกใสที่เปิด-ปิดได้
  • ขนาดถุง : ถุงพลาสติกใสต้องมีขนาดไม่เกิน 20 x 20 ซม. (กว้าง x สูง)
  • จำนวนถุง : ผู้โดยสารแต่ละคนสามารถนำถุงพลาสติกขึ้นเครื่องได้เพียง 1 ใบเท่านั้น

5.มาตรการสายการบินไทยสมายล์ (Thai Smile)

มาตรการการนำของเหลวขึ้นบนเครื่องบินของสายการบินไทยสมายล์ มีดังนี้

  • ปริมาณต่อชิ้น : ของเหลวแต่ละชิ้นต้องบรรจุในภาชนะที่มีความจุไม่เกิน 100 มล.
  • ปริมาณรวม : ของเหลวทั้งหมดรวมกันต้องไม่เกิน 1,000 มล. 
  • การบรรจุ : ของเหลวทุกชิ้นต้องถูกบรรจุอยู่ในถุงพลาสติกแบบใสที่มีซีลปิด
  • ขนาดถุง : ถุงพลาสติกใสต้องมีขนาดไม่เกิน 20 x 20 ซม. (กว้าง x สูง)
  • จำนวนถุง : ผู้โดยสารแต่ละคนสามารถนำถุงพลาสติกขึ้นเครื่องได้เพียง 1 ใบเท่านั้น

สรุป นำของเหลวขึ้นเครื่อง ควรเช็กทุกครั้งเพื่อความปลอดภัย

การนำของเหลวขึ้นเครื่องบินในปี 2567 คุณยังคงต้องปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด แม้ว่าแต่ละสายการบินอาจมีรายละเอียดปลีกย่อยที่แตกต่างกันไปบ้าง แต่โดยทั่วไปแล้ว ของเหลวแต่ละชิ้นต้องมีปริมาณไม่เกิน 100 มล. และต้องบรรจุในถุงพลาสติกใสที่ปิดผนึกได้ โดยปริมาณของเหลวทั้งหมดรวมกันจะต้องไม่เกิน 1 ลิตร

และนอกจากจะต้องเช็กปริมาณของเหลวขึ้นเครื่องแล้ว อย่าลืมทำประกันการเดินทางด้วยล่ะ โดยเฉพาะถ้าจะบินไกลหรือเที่ยวต่างประเทศ ทำไว้ทุกครั้ง หากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้นมาจะได้ไม่ลำบากทีหลัง เพราะค่ารักษาโรงพยาบาลในต่างประเทศแพงมาก ทำประกันไว้คุ้มครองทุกอย่าง เที่ยวได้แบบชิลล์ๆ ไม่ต้องกังวลอะไรเลย

ที่มา: ไทยรัฐ



สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

บทความแนะนำ

  • ข้อสอบใบขับขี่พร้อมเฉลย ล่าสุด 2567

    รวมเฉลยข้อสอบใบขับขี่ 2566 อย่างละเอียด ไม่อยากสอบหลายรอบมาเตรียมตัวให้พร้อมก่อนสอบจริงกับแนวข้อสอบใบขับขี่ภาคทฤษฎี 50 ข้อพร้อมเฉลย
    171,934
  • 10 รุ่นมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าขายในไทย

    10 รุ่น มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า 2024 น่าสนใจ ขายในไทย จดทะเบียนได้

    รวม 10 รุ่น มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าจดทะเบียนได้ มีขายในไทย 2024 พร้อมแนะนำวิธีเลือกมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าให้ตอบโจทย์การใช้งาน และการทำประกันรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า
    33,578
  • ใบขับขี่ประเภท 2 และใบขับขี่ บ.2 ท.2 ขับรถอะไรได้บ้าง?

    หากขับรถเพื่อขนส่งสินค้าต้องรู้ เพื่อเลือกทำใบขับขี่ประเภท 2 ไม่ว่าเป็นใบขับขี่ บ.2 หรือใบขับขี่ ท.2 ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย หากไม่อยากโดนปรับ
    28,149