อัปเดตกฎหมายจํากัดความเร็วรถในเขตกรุงเทพฯ ล่าสุด

การขับขี่ยานพาหนะบนท้องถนนให้ปลอดภัยนั้น นอกจากความระมัดระวังของผู้ขับขี่แล้ว การปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัดก็เป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะเรื่องการควบคุมความเร็วในการขับขี่ ซึ่งล่าสุดได้มีการปรับปรุงกฎหมายความเร็วรถในเขตกรุงเทพมหานครใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพการจราจรในปัจจุบัน และเพิ่มความปลอดภัยให้แก่ผู้ใช้รถใช้ถนนทุกคน มาทำความเข้าใจกฎหมายจำกัดความเร็วฉบับล่าสุดกันครับ

เลือกเพื่ออ่านได้เลย ซ่อน

กฎหมายความเร็วรถล่าสุดในเขตกรุงเทพมหานคร

กฎหมายความเร็วกรุงเทพ

ข้อมูลล่าสุดจากประกาศ ข้อบังคับหัวหน้าเจ้าพนักงานจราจรในเขตกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการจำกัดความเร็วและห้ามใช้เสียง ในเขตกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2567 ได้จำกัดอัตราความเร็วของรถใหม่อยู่ที่ไม่เกิน 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง บนถนนทุกสายในเขตกรุงเทพมหานคร 

ยกเว้นรายชื่อถนนด้านล่างนี้ที่จะมีข้อกำหนดแตกต่างไปครับ

รายชื่อถนนที่จำกัดอัตราความเร็วรถ ไม่เกิน 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และห้ามใช้เสียงบริเวณโดยรอบเขตพระราชฐาน

  • ถนนราชดำเนินใน
  • ถนนหน้าพระธาตุ
  • ถนนพระจันทร์
  • ถนนหน้าพระลาน
  • ถนนสนามไชย
  • ถนนกัลยาณไมตรี
  • ถนนท้ายวัง
  • ถนนมหาราช
  • ถนนราชินี
  • ถนนเศรษฐการ

รายชื่อถนนที่ได้รับการยกเว้นจำกัดอัตราความเร็วรถ 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

  • ถนนวิภาวดีรังสิต
  • ถนนบางนา-ตราด
  • ถนนศรีนครินทร์
  • ถนนพหลโยธิน
  • ถนนรามอินทรา
  • ถนนราชพฤกษ์
  • ถนนบรมราชชนนี
  • ถนนกัลปพฤกษ์
  • ถนนร่มเกล้า
  • ถนนสุวินทวงศ์
  • ถนนแจ้งวัฒนะ
  • ถนนพระรามที่ 3
  • ถนนศรีนครินทร์-ร่มเกล้า (ตัดใหม่)

ขับรถในเขตชุมชนใช้ความเร็วเท่าไหร่

ขับรถในเขตชุมชน

การขับขี่ในเขตชุมชนต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ เนื่องจากมีผู้คนสัญจรพลุกพล่าน ทั้งคนเดินเท้า นักเรียน และผู้สูงอายุ โดยเฉพาะบริเวณถนนซอยที่มีความกว้างไม่เกิน 7 เมตร กฎหมายกำหนดให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เพราะเป็นความเร็วที่ปลอดภัย หากเกิดอุบัติเหตุชนคนเดินเท้า ผู้ประสบเหตุมีโอกาสรอดชีวิตสูง ส่วนถนนสายหลักในเขตเมือง กำหนดความเร็วไม่เกิน 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

ขับรถในเขตทางหลวงชนบทใช้ความเร็วเท่าไหร่

ขับรถในทางหลวงชนบท

หากพูดถึงทางหลวงแผ่นดินและทางหลวงชนบท หลายคนอาจสงสัยว่าแตกต่างกันอย่างไร โดยทั่วไปทางหลวงทั้งสองประเภทนี้จะมีลักษณะเป็นถนนที่มีช่องทางเดินรถตั้งแต่ 2 ช่องขึ้นไป มีเกาะกลางถนนแบบถาวร และมีจุดกลับรถที่กำหนดไว้ชัดเจน ทำให้สามารถใช้ความเร็วในการขับขี่ได้สูงกว่าถนนในเมือง มาดูกันว่าแต่ละประเภทรถสามารถใช้ความเร็วได้เท่าไหร่ครับ

  • รถยนต์ส่วนบุคคล : สามารถทำความเร็วได้สูงสุดถึง 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เนื่องจากถนนประเภทนี้ออกแบบมาเพื่อรองรับการเดินทางระยะไกลและการขนส่ง
  • รถจักรยานยนต์ทั่วไป : จำกัดความเร็วไม่เกิน 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ขณะที่รถจักรยานยนต์ขนาดใหญ่ที่มีกำลังเครื่องยนต์ 400 ซีซีขึ้นไป สามารถใช้ความเร็วได้ถึง 110 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
  • รถโดยสารขนาดเล็ก : รถที่บรรทุกผู้โดยสาร 7-15 ที่นั่ง สามารถใช้ความเร็วได้ไม่เกิน 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เพื่อความปลอดภัยของผู้โดยสาร
  • รถบรรทุกและรถโดยสารขนาดใหญ่ : รถบรรทุกและรถโดยสารที่มีที่นั่งเกิน 15 ที่นั่ง กำหนดความเร็วไม่เกิน 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
  • รถลากจูงและรถเล็ก : รถลากจูง รถยนต์สี่ล้อเล็ก หรือรถสามล้อ ให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

ขับรถบนทางด่วน ควรใช้ความเร็วเท่าไหร่

ขับรถบนทางด่วน

การขับขี่บนทางด่วน หรือทางพิเศษ ถือเป็นเส้นทางที่ออกแบบมาเพื่อการเดินทางที่รวดเร็ว แต่ก็ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นสำคัญ โดยมีการกำหนดความเร็วที่แตกต่างกันระหว่างทางยกระดับและทางพิเศษระดับพื้นดิน ดังนี้

การกำหนดความเร็วบนทางด่วนยกระดับ

  • สำหรับรถยนต์ 4 ล้อทั่วไป : สามารถใช้ความเร็วได้ไม่เกิน 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยเฉพาะในช่องทางขวาสุดต้องรักษาความเร็วไม่ต่ำกว่า 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เว้นแต่มีเหตุจำเป็น
  • รถบรรทุกและรถโดยสาร : รถบรรทุกที่มีน้ำหนักเกิน 2.2 ตัน และรถโดยสารที่มีผู้โดยสารเกิน 15 คน จำกัดความเร็วไม่เกิน 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
  • รถรับส่งนักเรียน : กำหนดความเร็วไม่เกิน 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เนื่องจากต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของนักเรียนเป็นพิเศษ

การกำหนดความเร็วบนทางด่วนระดับพื้นดิน

  • รถยนต์ทั่วไป : สามารถใช้ความเร็วได้ไม่เกิน 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยในช่องทางขวาสุดต้องรักษาความเร็วไม่ต่ำกว่า 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ยกเว้นมีข้อจำกัดด้านการจราจร
  • รถบรรทุกและรถโดยสารใหญ่ : รถบรรทุก และรถโดยสารที่มีผู้โดยสารเกิน 15 คน จำกัดความเร็วไม่เกิน 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
  • รถโรงเรียนและรถรับส่งนักเรียน : กำหนดความเร็วไม่เกิน 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งสูงกว่าบนทางยกระดับเล็กน้อย
  • รถลากจูงและรถขนาดเล็ก : รถลากจูง รถสี่ล้อเล็ก หรือรถสามล้อ ให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เช่นเดียวกับบนทางยกระดับ

หากขับรถเร็วเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด มีโทษอะไรบ้าง

การฝ่าฝืนกฎหมายจำกัดความเร็ว ถือเป็นความผิดที่มีบทลงโทษชัดเจน โดยผู้กระทำผิดจะต้องเสียค่าปรับสูงสุดถึง 4,000 บาท และที่สำคัญจะถูกตัดคะแนนความประพฤติหรือแต้มใบขับขี่ทันที 1 คะแนน ซึ่งการสะสมความผิดหลายครั้งอาจส่งผลให้ถูกพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ได้ ดังนั้นผู้ขับขี่ควรตระหนักและปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด

แต้มใบขับขี่คืออะไร เรามีกี่แต้ม

แต้มใบขับขี่เปรียบเสมือนคะแนนความประพฤติในการใช้รถใช้ถนน โดยผู้ถือใบขับขี่ทุกคนจะได้รับแต้มเริ่มต้น 12 คะแนนเท่ากัน เมื่อกระทำผิดกฎจราจรในฐานความผิดที่กำหนด จะถูกตัดแต้มตามระดับความรุนแรงของความผิด ตั้งแต่ 1-4 คะแนน โดยแต้มที่ถูกตัดจะกลับคืนมาโดยอัตโนมัติเมื่อครบ 1 ปี หรือสามารถเข้ารับการอบรมเพื่อคืนแต้มได้ครับ

ถ้าโดนตัดคะแนนความประพฤติเหลือ 0 จะเกิดอะไรขึ้น

เมื่อคะแนนความประพฤติถูกตัดจนเหลือ 0 ผู้ขับขี่จะถูกสั่งพักใช้ใบขับขี่เป็นเวลา 90 วัน ซึ่งในระหว่างนี้จะไม่สามารถขับขี่ยานพาหนะใดๆ ได้เลย หากฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน ปรับสูงสุด 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่สามารถเข้ารับการอบรมเพื่อคืนแต้มได้ โดยจะได้รับคืน 12 คะแนนหากอบรมระหว่างถูกพักใช้ หรือ 8 คะแนนหากรอจนพ้นระยะเวลาพักใช้ครับ

สรุป ขับขี่รถยนต์ปลอดภัย ต้องอัปเดตกฎหมายจราจรอยู่เสมอ

การปฏิบัติตามกฎหมายจำกัดความเร็วไม่เพียงช่วยหลีกเลี่ยงการถูกปรับและตัดแต้มใบขับขี่เท่านั้น แต่ยังเป็นการสร้างความปลอดภัยให้กับตัวคุณเองและผู้ร่วมทางคนอื่นๆ ด้วย ดังนั้น ผู้ขับขี่ควรติดตามข้อมูลการอัปเดตกฎหมายจราจรอย่างสม่ำเสมอ และที่สำคัญคือการขับขี่ด้วยความไม่ประมาท เคารพกฎจราจร เพื่อให้ทุกการเดินทางถึงที่หมายอย่างปลอดภัย

และเพื่อเพิ่มความอุ่นใจในทุกเส้นทาง ประกันติดโล่ขอแนะนำให้คุณวางแผนทำประกันภัยรถยนต์ที่ให้ความคุ้มครองครอบคลุม พร้อมบริการช่วยเหลือฉุกเฉิน 24 ชั่วโมง เพื่อให้คุณมั่นใจได้ว่าจะได้รับการดูแลอย่างดีที่สุดในทุกสถานการณ์ตลอดการเดินทางครับ

*ผู้ซื้อควรศึกษารายละเอียดความคุ้มครองและเงื่อนไขกรมธรรม์ก่อนตัดสินใจทำประกันรถยนต์ทุกครั้ง

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

ที่มา: ราชกิจจานุเบกษา, TQM, Thai PBS



สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
สนใจ ประกันรถยนต์

กรอกข้อมูลติดต่อ

นอกจากประกันรถยนต์ อยากได้อะไรเพิ่ม?
การกดส่งข้อมูลแสดงว่าคุณอ่านและรับทราบ
นโยบายความเป็นส่วนตัว เรียบร้อยแล้ว

บทความแนะนำ
  • ข้อสอบใบขับขี่ 2568 พร้อมเฉลย
    ข้อสอบใบขับขี่พร้อมเฉลย ล่าสุด 2568
    รวมเฉลยข้อสอบใบขับขี่ 2568 อย่างละเอียด ไม่อยากสอบหลายรอบมาเตรียมตัวให้พร้อมก่อนสอบจริงกับแนวข้อสอบใบขับขี่รถยนต์ 50 ข้อพร้อมเฉลย
    332,924
  • รถเป็นรอยขูดทำไงดี เคลมประกันชั้น 1 ได้ไหม จ่ายค่าเสียหายส่วนแรกกี่บาท
    อยู่ๆ รถสุดที่รักก็โดนขูดเป็นรอยลึก หาตัวคนผิดก็ไม่ได้ คู่กรณีก็ไม่มี แล้วแบบนี้ประกันรถยนต์จะรับเคลมไหม ต้องจ่ายค่าทำสีรถใหม่เองหรือเปล่า ทำยังไงได้บ้าง?
    319,498
  • ไม่หลบรถพยาบาลเปิดไซเรน ระวังผิดกฎหมายรถฉุกเฉิน และเจตนาฆ่า!
    รถพยาบาลฉุกเฉินเปิดไฟวับวาบและเปิดเสียงไซเรน คุณควรหลีกทางให้รถพยาบาลแบบด่วนๆ เพราะถ้าฝ่าฝืนทำตัวขวางโลกรู้ไหมว่าผิดกฎหมายรถฉุกเฉิน และมีเจตนาฆ่าด้วย!
    317,444