ขับรถชนของหลวง แบบไม่ได้ตั้งใจ ประกันรถจ่ายเท่าไหร่?
ไถสมาร์ทโฟนอยู่ทุกวัน เชื่อมากๆ เลยว่าหลายคนต้องเห็นข่าวอุบัติเหตุบนถนน ที่ทำให้ทรัพย์สินของคนขับรถเสียหาย คู่กรณีเสียหาย และขับรถชนของหลวงเสียหาย ประกันติดโล่เลยฉุกคิดว่า ถ้าเกิดขับรถชนของหลวง เช่น ขับรถชนเสาไฟฟ้า ขับรถชนแบริเออร์ ที่เป็นทรัพย์สินของรัฐ ประกันรถยนต์จ่ายไหม ใครรับผิดชอบ?
ขับรถชนเสาไฟฟ้า รถชนแบริเออร์ ประกันรถยนต์จ่ายไหม?
ของหลวงของสาธารณะ จะมีหน่วยงานดูแลอยู่แล้ว ดังนั้น การขับรถชนของหลวงด้วยความประมาท หรือไม่ได้ตั้งใจ ยังไงก็มีความผิดครับ โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะเป็นผู้ประเมินค่าเสียหาย ซึ่งถ้าถามว่าขับรถชนของหลวงใครรับผิดชอบ คำตอบก็คือ “คุณ” และคุณต้องเป็นคนจ่ายค่าปรับ
แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีทางออก เพราะประกันรถยนต์จะเป็นฮีโร่ผู้มาช่วยจ่ายค่าปรับให้ แต่ถ้าค่าปรับเกินกว่าเงื่อนไขการรับผิดชอบของประกัน คุณต้องจ่ายค่าส่วนต่างที่เหลือเองนะครับ ซึ่งในกรณีนี้ที่เป็นการขับรถชนเสาไฟฟ้า ป้ายทางหลวง แบริเออร์ เป็นอุบัติเหตุ รถชนแบบไม่มีคู่กรณี
ดังนั้น ประกันที่คุ้มครองครอบคลุมไปถึงเงื่อนไขนี้ก็มีเพียง ประกันรถยนต์ชั้น 1 เท่านั้น ซึ่ง ประกันรถยนต์ชั้น 2+& หรือ ประกันรถชั้น 3+ จะไม่ได้คุ้มครองในกรณีนี้ หมายความว่าคุณต้องจ่ายค่าเสียหายเองทั้งหมด ดังนั้น การมีประกันรถยนต์จึงอุ่นใจมากๆ เลยล่ะครับ
ขับรถชนของหลวง เสียค่าปรับเท่าไหรบ้าง?
ถึงจะเป็นของหลวง ของสาธารณะ แต่ก็มีเจ้าของนะครับ ดังนั้น ถ้าเกิดอุบัติเหตุรถชนขึ้นมา แล้วดันเป็นการขับรถชนเสาไฟฟ้า รถชนแบริเออร์ ก็ต้องเสียค่าปรับให้กับการไฟฟ้านครหลวง กรมทางหลวง ฯลฯ
โดยค่าปรับที่คุณต้องจ่ายเมื่อขับรถชนของสาธารณะต่อไปนี้ เป็นเพียงการประเมินราคาเบื้องต้นเท่านั้น เพราะในสถานที่เกิดเหตุจริง อาจมีความเสียหายอื่นๆ ทำให้ถูกคิดค่าเสียหายเพิ่มเติมครับ
ขับรถชนเสาไฟฟ้า เสียค่าปรับเท่าไหร่?
เริ่มกันที่ขับรถชนเสาไฟฟ้าเลยนะครับ เสาไฟฟ้าแต่ละต้นมีราคาที่แตกต่างกัน มีค่ารื้อถอน คำนวณจากความสูงของเสาไฟฟ้า อีกทั้งมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพิ่มด้วยเช่น ค่าเดินสายไฟใหม่ ค่าหม้อแปลง ฯลฯ
ทำให้ค่าปรับของการขับรถเสาไฟฟ้าระบุเป็นตัวเลขที่แน่ชัดไม่ได้ โดยราคาต่อเสาไฟฟ้า 1 ต้นคุณอาจเสียค่าปรับตั้งแต่ 3,232.68 ถึง 42,046.24 บาท เห็นราคาแล้วมีประกันรถยนต์เอาไว้น่าจะอุ่นใจกว่านะ
ขับรถชนแบริเออร์ เสียค่าปรับเท่าไหร่? (Barrier)
ขับรถชนแบริเออร์ เกิดขึ้นได้บ่อยๆ ครับ เพราะเป็นอุปกรณ์กันขวางทางที่ทำให้คุณหักเลี้ยวจนชนเข้าได้ ซึ่งแบริเออร์อยู่ภายใต้การดูแลของรัฐ ขับรถชนแบริเออร์ เสียค่าปรับอยู่ที่ราวๆ 800 – 15,000 บาท ต่อชิ้น
ทั้งนี้จะเป็นจำนวนเท่าไหร่ในราคาสุทธิอยู่ที่ว่าคุณทำแบริเออร์พังไปกี่ชั้น เสียหายเท่าไหร่ วัสดุของแบริเออร์เป็นประเภทใด สมมติว่าแบริเออร์นั้นมีไว้เพื่อกันดินทราย ก็จะเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมเพราะมีค่าแรงอันอื่นๆ
ถึงจะราคาไม่มาก พอจะจ่ายไหว แต่การมีประกันรถยนต์เอาไว้ ก็สบายใจกว่าครับ ในกรณีที่เป็นแบริเออร์เช่นนี้ ประกันรถยนต์ชั้น 1 ก็คงจะตอบโจทย์ที่สุดแล้วนะครับ
ขับรถชนต้นไม้ พุ่มไม้ทางหลวง เสียค่าปรับเท่าไหร่?
ขนาดลักลอบต้นไม้หรือพุ่มไม้ทางหลวงยังโดนค่าปรับเลย การขับรถชนต้นไม้ ก็ต้องเสียค่าปรับเช่นเดียวกัน สังเกตไหมครับว่าเวลาขับรถไปต่างจังหวัดหรือในเมืองก็ดี จะเห็นการรดน้ำต้นไม้ ตกแต่งต้นไม้
ผู้คนเหล่านั้นเป็นผู้ดูแล เมื่อคุณขับรถชนต้นไม้ ก็ต้องเสียค่าปรับให้เขา ไม่ว่าจะเป็นเทศบาลเมืองหรือกรมทางหลวง โดยค่าเสียหายเมื่อขับรถชนต้นไม้ จะอยู่ที่ราคาเริ่มต้น 2,000 บาทและราคาจะสิ้นสุดที่กี่บาทนั้น
ก็ต้องดูขนาดต้นไม้ จำนวนต้นไม้ และอายุต้นไม้ที่คุณชนด้วย ไม่สามารถประเมินราคาแบบสุทธิได้จนกว่าจะเห็นเหตุการณ์จริงๆ นั่นเอง ดังนั้น ประกันรถยนต์ จะเป็นสิ่งที่ทำให้คุณสบายกระเป๋า
ขับรถชนป้ายจราจร เสียค่าปรับเท่าไหร่?
ถ้าเป็นป้ายจราจร กรมทางหลวงต้องเป็นคนดูแลอยู่แล้วนะครับ เมื่อเกิดอุบัติเหตุขับรถชนป้ายจราจร เจ้าหน้าที่จะมาตรวจสอบสถานที่และส่งเรื่องไปยังกรมทางหลวงให้ประเมินราคาค่าเสียหายที่คุณต้องจ่าย
โดยเมื่อขับรถชนป้ายจราจร จะถูกเรียกเก็บค่าปรับเริ่มต้น 1,000 – 2,000 บาท โดยจำนวนสุทธิทั้งหมดจะอยู่ที่ว่าคุณขับรถชนไปกี่ป้าย ป้ายจราจรขนาดเท่าใด และเสียหายมากแค่ไหนครับ
ขับรถชนกรวยจราจร ขับรถชนเสาล้มลุก เสียค่าปรับเท่าไหร่?
นี่เป็นอุปกรณ์อื่นๆ ที่อยู่บนท้องถนน ซึ่งคุณสามารถขับรถชนได้ทุกเมื่อ ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ ซึ่งถือว่าเป็นของหลวงของสาธารณะเช่นเดียวกับกับสิ่งอื่นๆ โดยสามารถประเมินราคาเริ่มต้นได้ ดังนี้
- ขับรถชนกรวยจราจร ค่าปรับ 200-800 บาท (ราคาสุทธิอยู่ที่ขนาด จำนวน และความเสียหาย)
- ขับรถชนแผงกั้นจราจร ค่าปรับ 1,000-5,000 บาท (ราคาสุทธิอยู่ที่ขนาด จำนวน และความเสียหาย)
- ขับรถชนเสาล้มลุก ค่าปรับ 800-3,500 บาท (ราคาสุทธิอยู่ที่ขนาด จำนวน และความเสียหาย)
ที่มาของราคาค่าปรับ : mgronline, chobrod
ขับรถชนของหลวง แต่ไม่มีเงินจ่ายค่าปรับ ผิดกฎหมายไหม
ถูกเรียกว่าเป็นของหลวง ของสาธารณะ ก็ต้องผิดกฎหมายอยู่แล้วครับ ดังนั้น วิธีแรกที่จะทำให้คุณไม่ต้องเข้าข่ายบุคคลละเมิดกฎหมาย คือการเสียค่าปรับให้กับเจ้าของ
และการจ่ายค่าปรับ เมื่อขับรถชนของหลวงจะง่ายขึ้น หากคุณมีประกันรถยนต์คุ้มครอง คือ ประกันชั้น 1 แต่ถ้าเป็น ประกันรถชั้น 2+ และ ประกันชั้น 3+ ถือว่าหมดสิทธิ์นะครับ คุณจะต้องจ่ายค่าเสียหายเองทั้งหมดเลย
แต่ถ้าคุณไม่มีเงินจ่ายค่าปรับ จะมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 360 ว่าผู้ใดทำให้ทรัพย์สินเสียหายแล้วไม่เสียค่าปรับ เท่ากับว่า นอกจากคุณจะต้องจ่ายค่าเสียหายจากการขับรถชนเสาไฟฟ้า ขับรถชนแบริเออร์ ยังถือว่าผิดกฎหมายอีกด้วย
ขับรถชนเสาไฟฟ้า ชนแบริเออร์ อย่าหนี เพราะต่อรองได้!
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ไม่ได้ตั้งใจจะหนี เพียงแต่ว่า ใช้ประกันรถยนต์ชั้น 2+ หรือ ประกันรถ 3+ ที่ไม่คุ้มครองในการขับรถชนไม่มีคู่กรณี หรือ ประกันรถชั้น 1 คุ้มครองให้แล้ว แต่ไม่มีเงินจ่ายส่วนต่างที่เหลือ อย่าหนี เพราะคุณสามารถต่อรองค่าเสียหายได้นะครับ
เพียงแค่ติดต่อไปที่สำนักงานของเจ้าของทรัพย์สินนั้น สมมติว่า ขับรถชนเสาไฟฟ้า ก็ติดต่อไปที่การไฟฟ้านครหลวง เพื่อขอปรึกษาค่าใช้จ่ายทั้งหมด ว่าขอผ่อนชำระได้หรือไม่ หรือขอไกล่เกลี่ยหนี้ทั้งหมดได้หรือไม่ อย่าหนีครับ เพราะถ้าหนีหนี้มีความผิดตาม มาตรา 438 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ซึ่งค่าเสียหายทั้งหมดที่คุณต้องจ่ายจะอยู่ที่ศาลตัดสินครับ ดังนั้น อาจจะเป็นค่าเสียหาย 1,000,000 บาท จะมากกว่าหรือน้อยกว่านี้ ทั้งหมดเป็นดุลพินิจของศาลทั้งสิ้น
สรุป
ของหลวง ของสาธารณะ มีเจ้าของ ถ้าเกิดขับรถชนของหลวงขึ้นมา ประกันรถยนต์ต้องรับผิดชอบ แต่ว่าจะไม่เกินเงื่อนไขที่ระบุเอาไว้ในกรมธรรม์ ถ้ามีส่วนต่างคุณต้องจ่ายเอง การชนของหลวง=ไม่มีคู่กรณี ซึ่งประกันชั้น 1 จึงเป็นประกันที่ดีที่สุดในเหตุการณ์นี้ เพราะคุ้มครองอย่างครอบคลุม ในกรณีที่ไม่มีเงินชดใช้ค่าเสียหาย อย่าหนี ให้ไปต่อรองหรือไกล่เกลี่ยกับเจ้าทางเจ้าของของทรัพย์นั้นได้ครับ