เจาะลึก พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ ทำไมถึงต้องมี แล้วเราจะใช้มันได้อย่างไร
“ทำไมต้องต่อพ.ร.บ.ด้วย ยุ่งยากจะตาย”
หลาย ๆ คนสำหรับเจ้าของรถมอเตอร์ไซค์ทั้งหลายถ้าไม่เคยได้ยินประโยคดังกล่าว คงต้องแอบคิดขึ้นมาบ้างว่าจริง ๆ แล้วประกันปกติมีให้เลือกเยอะแยะมากมาย ไม่ว่าจะชั้น 1 ชั้น 2 หรือชั้น 3 แต่ทำไมยังต้องลำบากเสียเงินต่อ พรบ ด้วย
ทางประกันติดโล่จึงมาเจาะลึกข้อมูลว่าจริง ๆ แล้ว พ.ร.บ. มอเตอร์ไซค์หรือ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์นี้มีความสำคัญอย่างไร ทำไมถึงต้องมี แล้วจะสามารถใช้งาน พ.ร.บ.นี้ได้อย่างไร ให้หลาย ๆ คนคลายข้อสงสัยที่อาจจะค้างคาใจกันมาตลอด
ที่มาของ พ.ร.บ.จักรยานยนต์
หลังจากการใช้งานของรถยนต์เริ่มแพร่หลาย ก็ปรากฏผู้ขับขี่รถที่รวดเร็ว อันตราย ไม่คำนึงถึงผู้อื่นบนท้องถนนมากขึ้น ทำให้เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง เกิดความสูญเสียหลายฝ่ายไม่ว่าจะเป็นผู้ใช้รถใช้ถนน หรือคนธรรมดาข้างทางก็ตาม
ประเทศอังกฤษจึงริเริ่ม พ.ร.บ.การจราจรบนท้องถนนขึ้น เพื่อเป็นหลักประกันให้กับผู้เคราะห์ร้ายในเหตุไม่คาดฝันบนท้องถนน ว่าจะได้รับเงินชดเชยเบื้องต้นอย่างแน่นอน หลังจากนั้นหลายประเทศทั่วโลกจึงเริ่มประกาศใช้ พ.ร.บ.รูปแบบเดียวกันเป็นของตัวเอง และพัฒนาเป็น พ.ร.บ.รถยนต์ และพ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ แจกแจงตามความเหมาะสมตามแต่ละพื้นที่
ในปัจจุบันการคุ้มครองของ พ.ร.บ.กว้างขึ้นและครอบคลุมขึ้นเยอะ โดยเฉพาะกับ พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ ที่มีการปรับปรุงวงเงินและการทำงานให้รวดเร็วขึ้น
พ.ร.บ.คุ้มครองอะไรบ้าง
ดังที่กล่าวว่าหน้าที่ที่แท้จริงของตัว พ.ร.บ. คือการคุ้มครองค่าใช้จ่ายของผู้ขับขี่ ไม่ว่าจะเป็นพ.ร.บ. มอเตอร์ไซค์หรือ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์แล้วได้ผ่านการปรับปรุงแบบแผน ทำให้หลาย ๆ คนสงสัยว่าตอนนี้ พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์คุ้มครองอะไรบ้าง ซึ่งทุกคนจะทราบถึงรายละเอียดหลังจากนี้
ค่าเสียหายเบื้องต้น ยังไม่ต้องพิสูจน์ความผิด
คือค่าใช้จ่ายที่ พ.ร.บ.จะดำเนินการชดเชยให้เมื่อเกิดเหตุไม่คาดฝัน สามารถเบิกจ่ายได้ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายถูกหรือฝ่ายผิด ครอบคลุมทั้งคนขับและคนซ้อน
- ค่ารักษาพยาบาล จ่ายตามค่าใช้จ่ายจริง วงเงินไม่เกิน 30,000 บาท /คน
- เสียชีวิต ทุพพลภาพ สูญเสียอวัยวะ ชดเชย 35,000 บาท /คน
ค่าสินไหมทดแทน เมื่อพิสูจน์แล้วว่าเป็นฝ่ายถูก
คือค่าใช้จ่ายที่ พ.ร.บ.จะชดเชยให้เมื่อพิสูจน์แล้วว่าผู้ขับขี่เป็นฝ่ายถูก ครอบคลุมทั้งคนขับและคนซ้อนเช่นกัน โดยมีการคุ้มครองดังนี้
- ค่ารักษาพยาบาล จ่ายตามค่าใช้จ่ายจริง วงเงินไม่เกิน 80,000 บาท
- เสียชีวิต ทุพพลภาพ ชดเชย 300,000 บาท
- สูญเสียอวัยวะ
- นิ้วขาด 1 ข้อขึ้นไป ชดเชย 200,000 บาท
- สูญเสียอวัยวะ 1 ส่วน ชดเชย 250,000 บาท
- สูญเสียอวัยวะ 2 ส่วน ชดเชย 300,000 บาท
- หากมีการรักษาตัวในโรงพยาบาล (ผู้ป่วยใน) ชดเชยวันละ 200 บาท ไม่เกิน 20 วัน
สิ่งสำคัญคือต้องอย่าลืมว่าความคุ้มครองทั้งหมดนี้จะคุ้มครองเพียงการบาดเจ็บหรือเสียชีวิตเท่านั้น ไม่ได้ชดเชยไปถึงค่าซ่อมแซมอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุ
พ.ร.บ.จักรยานต์ยนต์ เคลมอย่างไร ใช้เอกสารอะไรบ้าง
เมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้น ค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลต่าง ๆ จะอยู่ในการคุ้มครองของพ.ร.บ.ก่อนเสมอ ถ้าค่าใช้จ่ายดังกล่าวมีมากเกินวงเงิน จึงจะสามารถเคลมสิทธิอื่น ๆ ได้ เช่น ประกันสุขภาพถ้วนหน้า สิทธิ์ประกันสังคม ต่อด้วยการเบิกจ่ายประกันอื่น ๆ โดยมีวิธีการตามนี้
ขั้นต้อนการแจ้งเคลม
- หลังจากนำคนเจ็บส่งโรงพยาบาล ให้ดำเนินการแจ้งเจ้าหน้าที่ทางโรงพยาบาลว่าขอใช้สิทธิ์เบิกตาม พ.ร.บ. และอธิบายเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเช่น เกิดเหตุที่ไหน เกิดได้อย่างไร รวมถึงเลขทะเบียน รุ่น รถที่เกี่ยวข้อง
- ทางโรงพยาบาลจะดำเนินการประสานงานเพื่อดูแลสิทธิ์การเคลมตาม พ.ร.บ. ซึ่งโดยส่วนมากจะมีหน่วยงานภายในดูแลด้านนี้อยู่แล้ว
- แจ้งความเพื่อลงบันทึกประจำวัน และดำเนินการสอบสวนเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการเคลมค่าสินไหมทดแทน ที่ต้องพิสูจน์ว่าผู้ขับขี่เป็นฝ่ายถูก
- ยื่นเอกสารสำหรับเคลมที่บริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยภายใน 180 วันหลังเกิดเหตุ ซึ่งจะได้รับเงินชดเชยภายใน 7 วันทำการ (โทร. 1791)
เอกสารสำหรับการเคลม
กรณีบาดเจ็บเล็กน้อย
- สำเนาบัตรประชาชน เซ็นรับรองแล้ว
- สำเนาใบขับขี่ เซ็นรับรองแล้ว
- ใบเสร็จค่ารักษาพยาบาล
กรณีบาดเจ็บจนต้องนอนโรงพยาบาล
- สำเนาบัตรประชาชน เซ็นรับรองแล้ว
- สำเนาใบขับขี่ เซ็นรับรองแล้ว
- ใบเสร็จค่ารักษาพยาบาล (ถ้ามี)
- ใบรับรองแพทย์ ระบุว่าจำเป็นต้องพักรักษาในโรงพยาบาล
กรณีทุพพลภาพ
- สำเนาบัตรประชาชน เซ็นรับรองแล้ว
- สำเนาใบขับขี่ เซ็นรับรองแล้ว
- ใบรับรองแพทย์
- หนังสือรับรองความพิการ
- สำเนาบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวน
กรณีเสียชีวิต
- สำเนาบัตรประชาชนผู้เสียชีวิต
- ใบมรณบัตร
- สำเนาบัตรประชาชนทายาทหรือผู้รับมรดก
- สำเนาทะเบียนบ้านทายาทหรือผู้รับมรดก
- สำเนาบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวน
ทั้งนี้ทางบริษัทประกันอาจจะมีการขอเอกสารเพิ่มเติมเป็นรายกรณี เช่น สำเนาทะเบียนรถ หรือเอกสารบันทึกประวันตัวจริง เป็นต้น
ค่าใช้จ่ายสำหรับ พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์
ในการแง่ของการคุ้มครองของ พ.ร.บ.รถยนต์และรถจักรยานยนต์นั้นเหมือนกัน แต่สิ่งที่ทำให้แตกต่างคือค่าใช้จ่ายในการทำ พ.ร.บ. ซึ่งรถจักรยานยนต์จะขึ้นอยู่กับ CC ของเครื่อง โดยมีราคาประมาณ ดังนี้
เครื่องยนต์ไม่เกิน 75 CC 150 บาทขึ้นไป
เครื่องยนต์ 75 – 125 CC 350 บาทขึ้นไป
เครื่องยนต์125 – 150 CC 450 บาทขึ้นไป
เครื่องยนต์มากกว่า 150 CC 650 บาทขึ้นไป
ซึ่งค่าใช้จ่ายเหล่านี้ยังไม่รวมค่าดำเนินการและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ตามการติดต่อเพื่อดำเนินการทำ พ.ร.บ. โดยข้อมูลรายละเอียดของเครื่องยนต์สามารถดูได้ที่หน้ารายการจดทะเบียนของเล่มเขียว (สมุดทะเบียน) มอเตอร์ไซค์
โดยที่การต่อ พ.ร.บ.ใช้เพียงแค่สำเนาทะเบียนรถและสำเนาบัตรประชาชนเท่านั้น และในปัจจุบันขั้นตอนการยื่นทำ พ.ร.บ.ก็ไม่ได้ยุ่งยากเหมือนเดิม เพียงแค่มีเอกสารครบก็สามารถดำเนินการได้ทันที
สรุป
พ.ร.บ. คือสิ่งจำเป็นขั้นพื้นฐานสำหรับการใช้รถ ใช้ถนน เพราะ พ.ร.บ.เหมือนกับเป็นประกันแรกในการช่วยเรื่องค่าใช้จ่ายเมื่อประสบอุบัติเหตุ โดยเฉพาะรถจักรยานยนต์ที่มีความเสี่ยงสูง ดังนั้นทุกคนจึงควรที่จะทำการต่อ พ.ร.บ.เพื่อความสบายใจในการขับขี่รถบนท้องถนน
หากคุณสนใจที่จะต่อ พรบ.รถจักรยานยนต์สามารถติดต่อทางบริษัทประกันติดโล่เลยครับ เรารับต่อ พรบ.รถทุกชนิด ไม่มีค่าธรรมเนียมแอบแฝง จะรถอายุกี่ปีก็สามารถต่อให้ได้ แถมต่อได้เร็ว รอรับได้ทันที ดูรายละเอียดที่ ต่อ พ.ร.บ.กับประกันติดโล่ หรือติดต่อที่ประกันติดโล่ทุกสาขาทั่วประเทศได้เลยครับ