ต่อภาษีรถยนต์พร้อมต่อ พ.ร.บ. ออนไลน์ สะดวก ง่าย ไม่ต้องไปถึงขนส่ง

4,756

พ.ร.บ.รถยนต์เป็นแบบไหน? เป็นป้ายสี่เหลี่ยมหน้ารถที่ได้จากการต่อภาษีในปีที่แล้ว หรือที่หลายคนเรียกว่า ป้ายวงกลม (ป้ายภาษี) เจ้าของรถยนต์ รถมอเตอร์ไซค์ จำเป็นต้องต่อป้ายวงกลมรถยนต์ในทุก ๆ ปี ประกันติดโล่ จะมาแนะนำวิธีต่อป้ายภาษีรถยนต์พร้อมต่อพ.ร.บ.ออนไลน์ รวมถึงการต่อพ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ออนไลน์ด้วย ไม่ต้องไปทำเรื่องถึงขนส่ง เพราะตอนนี้กรมขนส่งทางบกมีบริการต่อภาษีรถยนต์บนช่องทางออนไลน์แล้ว 

นอกจากนี้ การต่อป้ายภาษีรถยนต์พร้อมต่อพ.ร.บ.ออนไลน์ สามารถเลือกทำกับตัวแทนประกันได้ ซึ่งประกันติดโล่ มีบริการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ และรถอื่น ๆ แบบออนไลน์ อำนวยความสะดวกให้กับคุณทั้งบนแอปพลิเคชัน และเว็บไซต์ของประกันติดโล่ มาดูวิธีการต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ง่าย ๆ กับกรมขนส่งที่คุณเองก็ทำได้ แถมด้วยวิธีต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ และการต่อพ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ออนไลน์กับประกันติดโล่กันเลย

ต่อป้ายภาษีรถยนต์ต้องทำตอนไหน?

การต่อภาษีรถยนต์ประจำปี จะทำได้หลังจากต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ และเมื่อดำเนินการต่อภาษีรถยนต์กับกรมขนส่งแล้ว คุณจะได้รับป้ายสี่เหลี่ยมที่บอกวันที่ต้องชำระภาษีในปีถัดไป ซึ่งคุณสามารถทำเรื่องต่อป้ายภาษีรถยนต์ได้ล่วงหน้า 90 วันก่อนที่จะถึงกำหนดในทุก ๆ ปี แต่เจ้าของรถหลายคนมักจะลืมไปดำเนินการ หรือยังหาเวลาว่างไปไม่ได้ ทำให้รถทะเบียนขาดต่อภาษีประจำปี จนต้องเสียค่าปรับย้อนหลัง ซึ่งถ้าขาดต่อเกิน 3 ปี ป้ายทะเบียนรถยนต์ของคุณก็จะถูกสั่งยกเลิก

การต่อป้ายภาษีรถยนต์ และการต่อพ.ร.บ.ออนไลน์

ตอนนี้ทางกรมขนส่งได้มีการให้บริการที่สะดวกกับเจ้าของรถมากขึ้น ด้วยการต่อภาษีรถทุกประเภทผ่านช่องทางออนไลน์ ช่วยให้รถของคุณไม่ต้องขาดการต่อภาษีประจำปี ซึ่งจะเกิดปัญหาหลายอย่างตามมาทีหลัง

การอัปเดตระบบครั้งล่าสุด (ปี 2562) ของเว็บไซต์กรมขนส่งทางบก เจ้าของรถสามารถซื้อ พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถได้ทั้งจากระบบออนไลน์ หรือจากผู้ให้บริการที่เป็นตัวแทนจากภายนอก แล้วนำข้อมูลมาประกอบการต่อภาษีรถได้ง่าย ๆ การต่อภาษีรถยนต์ใช้อะไรบ้าง มาดูกันเลยครับ

ข้อมูลที่ต้องเตรียมสำหรับการต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์

  • ข้อมูลทะเบียนรถ
  • ข้อมูลประกันภัยภาคบังคับ หรือ พ.ร.บ. ที่มีวันสิ้นอายุความคุ้มครองไม่น้อยกว่า 90 วัน

เงื่อนไขที่กำหนดสำหรับการต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์

  • รถที่จะดำเนินการต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ ต้องไม่ค้างชำระภาษีเกิน 1 ปี (ถ้าค้างชำระเกิน 1 ปี ต้องดำเนินการตรวจสภาพรถใหม่ที่สถานตรวจสภาพรถเอกชน หรือ ตรอ. และต้องยื่นชำระภาษีที่กรมขนส่งเท่านั้น)
  • รถทุกจังหวัดทะเบียนสามารถยื่นต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ได้
  • รถที่ติดแก๊สทุกชนิด ต้องตรวจสภาพตามประกาศกรมขนส่งทางบก และต้องยื่นชำระภาษีที่กรมขนส่งเท่านั้น

วิธีต่อพ.ร.บ.ออนไลน์ รถยนต์และรถจักรยานยนต์

ก่อนการต่อภาษีรถยนต์ประจำปี อย่าลืมต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ และต่อ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ออนไลน์ให้เรียบร้อยก่อน ปัจจุบันสามารถทำได้จากช่องทางออนไลน์ที่หลากหลาย ซึ่งประกันติดโล่เองก็มีบริการต่อ พ.ร.บ.รถทุกประเภทผ่านช่องทางออนไลน์ได้เช่นเดียวกัน

วิธีต่อ พ.ร.บ. ออนไลน์กับประกันติดโล่

วิธีต่อ พ.ร.บ. ออนไลน์กับประกันติดโล่

ต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ กับประกันติดโล่ที่เดียวจบ ให้บริการทั้งรถยนต์ รถบรรทุก และการต่อ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ออนไลน์ ไม่มีค่าใช้จ่ายแอบแฝง จะรถกี่ปีประกันติดโล่ก็ต่อ พ.ร.บ.ให้ ผ่าน 2 ช่องทางที่สะดวกสบาย

1. ต่อ พ.ร.บ. ออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชันประกันติดโล่

ช่องทางต่อ พ.ร.บ. ที่สะดวกไม่เหมือนใคร กับบริการผ่านสมาร์ทโฟนของคุณ ใช้เวลาไม่เกิน 5 นาทีก็เสร็จเรียบร้อย เพียงแค่ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน “ประกันติดโล่” ซึ่งรองรับทั้งระบบ Android และ iOS จากนั้นทำการติดตั้ง สมัครใช้บริการบนแอปได้ทั้งลูกค้าประกันติดโล่ และบุคคลทั่วไป

วิธีการต่อ พ.ร.บ. บนแอปประกันติดโล่

หลังจากดาวน์โหลดแอปประกันติดโล่ และสมัครใช้บริการเรียบร้อยแล้ว จากนั้นเตรียมเล่มทะเบียนรถยนต์ที่ต้องการต่อ พ.ร.บ. ทำตามขั้นตอนดังนี้

  1. เปิดแอปประกันติดโล่แล้วเลือกเมนู “ซื้อ พ.ร.บ.”
  2. เลือกประเภทรถที่ต้องการต่อ พ.ร.บ. (ถ้าต้องการต่อ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ออนไลน์ ต้องทำผ่านเว็บไซต์เท่านั้น)
  3. กรอกข้อมูลผู้ขับขี่ให้ครบถ้วน
  4. เลือกวิธีการชำระเงินที่สะดวกกับคุณ
  5. เมื่อชำระเงินสำเร็จแล้วจะได้รับรายละเอียดของประกัน และเลขกรมธรรม์ที่นำไปต่อภาษีรถยนต์ผ่านเว็บไซต์ของกรมขนส่งทางบก คุณก็จะต่อป้ายวงกลมออนไลน์ได้เลย

2. ต่อ พ.ร.บ. ออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ประกันติดโล่

ต่อ พ.ร.บ. ออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ประกันติดโล่

สำหรับวิธีต่อ พ.ร.บ. รถยนต์กับเว็บไซต์ประกันติดโล่ เปิดให้บริการต่อ พ.ร.บ. ทั้งรถยนต์ รถบรรทุก และรถจักรยานยนต์ เมื่อเข้าไปแล้วคุณจะพบกับแบบฟอร์มกรอกข้อมูล จากนั้นกรอกข้อมูลให้ครบแล้วรอเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับในวันทำการ แล้วรอรับเอกสารได้เลย

วิธีต่อป้ายภาษีรถยนต์กับเว็บไซต์กรมขนส่งทางบก

หลังจากต่อ พ.ร.บ. ออนไลน์เสร็จแล้ว นำข้อมูลมาประกอบเพื่อยื่นต่อป้ายภาษีรถยนต์กับเว็บไซต์ของกรมขนส่งทางบก ได้ที่ https://eservice.dlt.go.th/ จากนั้นทำตามขั้นตอนดังนี้

  1. เมื่อเข้าสู่เว็บไซต์แล้ว สำหรับคนที่ไม่เคยใช้บริการมาก่อนให้ทำการ “ลงทะเบียนสมาชิกใหม่” จากนั้นกรอกข้อมูลให้ครบถ้วนแล้วเลือก “บันทึก”
วิธีต่อป้ายภาษีรถยนต์กับเว็บไซต์ขบ.
  1. ลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว ให้ทำการ Login และไปที่เมนู บริการ เลือก “ชำระภาษีรถยนต์ประจำปีผ่านอินเทอร์เน็ต”
วิธีต่อป้ายภาษีรถยนต์กับเว็บไซต์ขบ.

ถ้ามีรถยนต์ที่จดทะเบียนเป็นชื่อของคุณเอง ระบบจะแสดงรายละเอียดให้อัตโนมัติ แต่ถ้าไม่มีข้อมูลแสดง ให้ทำการกรอกข้อมูลค้นหา และทำการลงทะเบียนรถ จากนั้นเลือกรถที่ต้องการต่อภาษีแล้ว กด “ยื่นชำระภาษี”

จากนั้นทำการกรอกข้อมูลที่อยู่ และเลือกช่องทางการชำระเงิน โดยหลังจากชำระเงินแล้วไม่เกิน 7 วันทำการ กรมขนส่งจะจัดส่งป้ายสี่เหลี่ยมแสดงการชำระภาษีมาทางไปรษณีย์

สรุป การต่อป้ายภาษีรถยนต์พร้อมต่อ พ.ร.บ.ออนไลน์

การต่อป้ายภาษีรถยนต์ และการต่อ พ.ร.บ. ออนไลน์ เป็นวิธีที่อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้รถใช้ถนนเป็นอย่างมาก ด้วยระบบที่ทันสมัย ใช้งานง่าย ไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปติดต่อด้วยตัวเอง และสำคัญที่สุดคือ ผู้ขับขี่สามารถใช้รถได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย พร้อมทั้งมีพ.ร.บ.คอยคุ้มครองอย่างต่อเนื่องได้ทันเวลา

ดังนั้น หมั่นสังเกตป้ายภาษีหน้ารถของคุณให้ดี ว่าถึงเวลาต่อภาษีประจำปีแล้วรึยัง? ถ้ายังไม่ได้ต่อภาษี สามารถทำผ่านระบบออนไลน์ได้เลย และอย่าลืมต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ก่อนยื่นต่อภาษีกับประกันติดโล่ ผ่านช่องทางออนไลน์ที่สะดวกทั้งแอปประกันติดโล่ หรือเว็บไซต์ของประกันติดโล่ด้วยนะครับ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการต่อภาษีรถยนต์ สามารถดูได้ที่หน้า e-service ของกรมขนส่งทางบก ในเมนู “แนะนำบริการ” ได้เลย



สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

บทความแนะนำ

  • ข้อสอบใบขับขี่พร้อมเฉลย ล่าสุด 2567

    รวมเฉลยข้อสอบใบขับขี่ 2566 อย่างละเอียด ไม่อยากสอบหลายรอบมาเตรียมตัวให้พร้อมก่อนสอบจริงกับแนวข้อสอบใบขับขี่ภาคทฤษฎี 50 ข้อพร้อมเฉลย
    162,899
  • 10 รุ่นมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าขายในไทย

    10 รุ่น มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า 2024 น่าสนใจ ขายในไทย จดทะเบียนได้

    รวม 10 รุ่น มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าจดทะเบียนได้ มีขายในไทย 2024 พร้อมแนะนำวิธีเลือกมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าให้ตอบโจทย์การใช้งาน และการทำประกันรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า
    32,513
  • ใบขับขี่ประเภท 2 และใบขับขี่ บ.2 ท.2 ขับรถอะไรได้บ้าง?

    หากขับรถเพื่อขนส่งสินค้าต้องรู้ เพื่อเลือกทำใบขับขี่ประเภท 2 ไม่ว่าเป็นใบขับขี่ บ.2 หรือใบขับขี่ ท.2 ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย หากไม่อยากโดนปรับ
    27,122