รถกระบะ รถปิกอัพ เลือกทำประกันรถกระบะชั้นไหนดี
การเลือกใช้รถกระบะ หรือ รถปิกอัพ นอกจากจะเป็นเรื่องความชอบส่วนตัวแล้ว ยังเป็นทางเลือกสำหรับคนต้องการรถที่สามารถใช้งานได้อย่างหลากหลาย ทั้งการขับขี่ได้ในทุกเส้นทาง ความสามารถในการบรรทุกทั้งคนและสิ่งของ ที่รถเก๋งอาจไม่สามารถตอบโจทย์ได้ หรือในอนาคตจะเอาไปต่อเติมเพื่อประกอบอาชีพก็ได้เช่นกัน และเนื่องจากลักษณะการใช้งานรถกระบะที่ดูสมบุกสมบัน ลุยได้ในทุกเส้นทางนี้ ทำให้หลายคนเกิดข้อสงสัยว่า แล้วรถกระบะ รถปิกอัพ ทำประกันรถกระบะประเภทไหนได้บ้าง จะทำประกันชั้น 1 ได้หรือไม่ ประกันติดโล่มีคำตอบครับ
เลือกทำประกันรถกระบะชั้นไหนดี
ไม่ว่าจะเป็นรถกระบะ 2 ประตู หรือรถกระบะ 4 ประตู สามารถเลือกทำประกันชั้นไหนก็ได้ แต่สิ่งสำคัญที่บริษัทประกันจะนำมาพิจารณาว่า รถกระบะแต่ละคันสามารถทำประกันชั้นไหนได้บ้างก็คือ วัตถุประสงค์ในการใช้งานรถกระบะว่าใช้โดยสารขับขี่ทั่วไปในแต่ละวัน หรือใช้เพื่อการพาณิชย์โดยเฉพาะ
วัตถุประสงค์ในการใช้งานรถกระบะ รถปิกอัพ
หากวัตถุประสงค์ในการใช้งานรถกระบะเน้นโดยสารทั่วไป บริษัทประกันจะมองว่าเหมือนรถเก๋งหรือรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเลยครับ จึงสามารถทำประกันรถยนต์ชั้น 1 ได้ แต่หากวัตถุประสงค์ในการใช้งานเน้นบรรทุกเป็นประจำ หรือใช้เพื่อการพาณิชย์ รับจ้าง หรือให้เช่า บริษัทประกันส่วนใหญ่จะไม่รับทำประกันรถยนต์ชั้น 1 เนื่องจากรถกระบะที่ใช้เพื่อการพาณิชย์มักมีการใช้งานมากกว่ารถยนต์ทั่วไป จึงมีความเสี่ยงสูงที่รถจะได้รับความเสียหาย
แล้วจะทำประกันรถกระบะชั้นไหนดี?
คุณสามารถเลือกทำประกันรถยนต์ชั้น 2, 2+ ได้ ที่มีความคุ้มครองใกล้เคียงกับประกันรถยนต์ชั้น 1 เพียงแต่ประกันรถยนต์ชั้น 2, 2+ จะไม่คุ้มครองกรณีอุบัติเหตุรถชนแบบไม่มีคู่กรณีเท่านั้น โดยบริษัทประกันจะระบุรหัสรถยนต์ในกรมธรรม์ว่า รถกระบะของเราเป็นรถประเภทใด และมีลักษณะการใช้งานรถอย่างไร
รหัสรถยนต์ในกรมธรรม์ประกันรถยนต์
เมื่อทำประกันภัยรถยนต์ จะมีการระบุรหัสรถยนต์ในกรมธรรม์ว่ารถของเราเป็นรถประเภทใด ซึ่งรถแต่ละประเภทก็จะมีรหัสแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับประเภทรถยนต์และลักษณะการใช้งานรถยนต์ โดยจะแบ่งตัวเลขออกเป็นสองชุดคือ เลขหน้าสุดจะหมายถึงประเภทรถยนต์ ตัวเลขหลักที่สองและสามจะหมายถึงลักษณะการใช้งานรถยนต์ ดังนี้
ตัวเลขหลักที่หนึ่ง | ตัวเลขหลักที่สองและสาม |
หมายเลข 1 ประเภทรถยนต์นั่ง หมายเลข 2 ประเภทรถยนต์โดยสาร หมายเลข 3 ประเภทรถยนต์บรรทุก หมายเลข 4 ประเภทรถยนต์ลากจูง หมายเลข 5 ประเภทรถพ่วง หมายเลข 6 ประเภทรถจักรยานยนต์ หมายเลข 7 ประเภทรถยนต์นั่งรับจ้างสาธารณะ หมายเลข 8 ประเภทรถยนต์เบ็ดเตล็ด |
หมายเลข 10 ชนิดรถยนต์ส่วนบุคคล หมายเลข 20 ชนิดรถยนต์ใช้เพื่อการพาณิชย์ หมายเลข 30 ชนิดรถยนต์ใช้รับจ้างสาธารณะ หมายเลข 40 ชนิดรถยนต์ใช้เพื่อการพาณิชย์พิเศษ |
โดยทั่วไปเรามักจะพบรหัสรถยนต์ 210 และ 320 ในกรมธรรม์ประกันรถกระบะ
- รหัสรถยนต์ 210 สำหรับรถกระบะ ที่มีลักษณะการใช้งานเน้นการโดยสารทั่วไปเท่านั้น
- รหัสรถยนต์ 320 สำหรับรถกระบะ ที่มีลักษณะการใช้งานเน้นการบรรทุก หรือใช้เพื่อการพาณิชย์ รับจ้าง ให้เช่า ก็จะถือว่าเป็นการทำประกันรถกระบะเชิงพาณิชย์
หากต่อเติมรถ ประกันรถกระบะจะยังคุ้มครองไหม? ประกันติดโล่สรุปให้
อันดับแรกหากนำรถกระบะไปต่อเติมท้ายรถ เช่น ใส่คอกกระบะ โครงเหล็กหลังคา ตู้ทึบ หรือตู้โปร่ง จะต้องจดทะเบียนอย่างถูกต้องกับกรมการขนส่งทางบกก่อนนำไปใช้งาน จากนั้นจะต้องแจ้งบริษัทประกันด้วยว่าไปต่อเติมอะไรมาบ้าง หากไม่แจ้งบริษัทประกันก็จะไม่คุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นกับส่วนที่ได้ไปต่อเติมมานั้น แต่คุณยังได้รับความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยที่ได้ทำไปแล้วเหมือนเดิมครับ
เลือกทำประกันรถกระบะอย่างไรให้คุ้มค่า
กรณีเป็นรถกระบะ รถปิกอัพที่ใช้ส่วนบุคคล แนะนำให้ทำประกันชั้น 1 ไปเลยครับ เนื่องจากรถกระบะเป็นรถที่ออกแบบเมื่อให้ใช้งานได้อย่างอเนกประสงค์ พร้อมลุย พร้อมขับขี่ได้ในทุกเส้นทาง โดยเฉพาะหากคุณมีไลฟ์สไตล์การขับขี่แบบสายซิ่ง รถกระบะแต่งซิ่ง ควรเลือกความคุ้มครองแบบจัดเต็ม คุ้มค่ากับค่าเบี้ยประกันที่จะต้องจ่ายอย่างแน่นอน และหากคุณไม่พร้อมจ่ายค่าเบี้ยประกันเป็นเงินก้อน ที่ประกันติดโล่เราให้คุณผ่อนค่าเบี้ยประกันรถยนต์ 0% นาน 10 งวด จ่ายปุ๊บ คุ้มครองปั๊บ พร้อมได้รับความคุ้มครองอย่างที่ต้องการ
สรุป การทำประกันรถกระบะ
สำหรับการทำประกันรถกระบะ สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเป็นอย่างแรกคือ รถของเราใช้ทำอะไร หากเน้นโดยสารทั่วไป จะสามารถทำประกันรถยนต์ชั้น 1 ได้ แต่หากเน้นบรรทุกหรือใช้เพื่อการพาณิชย์ บริษัทประกันส่วนใหญ่จะไม่ค่อยรับทำประกันชั้น 1 แต่คุณสามารถทำประกันรถยนต์ชั้น 2, 2+ ที่มีความคุ้มครองแบบจัดเต็มไม่ต่างกับประกันชั้น 1 มากนัก และเมื่อทำประกันรถกระบะเรียบร้อยแล้ว อย่าลืมเช็ครหัสรถยนต์ที่ระบุในกรมธรรม์ประกันรถกระบะของคุณด้วย ว่ามีความถูกต้องตรงตามลักษณะการใช้งานจริง ๆ หรือไม่ เพื่อให้คุณได้รับความคุ้มครองตามที่ตกลงกันไว้
ขอบคุณข้อมูลจาก : วิริยะประกันภัย