รวมเรื่องต้องรู้ก่อนคิดจะ เวนคืนกรมธรรม์ คุ้มค่าจริงหรือไม่?

16,154

ปัญหาทางการเงินเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะต้องดูว่าเราสามารถจัดการกับปัญหาได้ด้วยวิธีอะไร โดยสำหรับผู้ที่ทำประกันสุขภาพ ประกันมะเร็ง หรือประกันชีวิตเอาไว้ “การเวนคืนกรมธรรม์” เป็นหนึ่งในวิธีที่สามารถช่วยให้คุณได้เงินก้อนไปแก้ไขปัญหาชั่วคราวได้

อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ขอเวนคืนกรมธรรม์แล้วจะถือว่าเป็นการยกเลิกกรมธรรม์ และจะไม่ได้รับความคุ้มครองอีกต่อไป ดังนั้นก่อนที่จะทำการเวนคืนก็ควรที่จะศึกษาข้อมูลให้ดีเสียก่อน ซึ่งประกันติดโล่ได้รวมเรื่องต้องรู้ก่อนคิดจะขอเวนคืนกรมธรรม์มาให้แล้ว มีข้อควรระวังอะไรบ้าง ไปดูกันเลย!

เวนคืนกรมธรรม์ คืออะไร?

การเวนคืนกรมธรรม์ คือ การขอยกเลิกสัญญากรมธรรม์ที่ได้ทำไว้กับบริษัทประกันภัย เพื่อรับเงินสดจากการจ่ายเบี้ยประกันไปแล้วกลับคืนมา โดยจำนวนเงินที่ได้รับและเงื่อนไขในการยกเลิกกรมธรรม์จะแตกต่างกันไปตามสัญญาของกรมธรรม์เล่มนั้น ๆ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้ว จะสามารถขอเวนคืนกรมธรรม์ได้ก็ต่อเมื่อมี “มูลค่าเงินสด” ก่อน ซึ่งมักจะเกิดขึ้นหลังจากที่เราถือกรมธรรม์ไปแล้ว 2 – 3 ปี

มูลค่าเงินสดที่จะเกิดขึ้นในตารางมูลค่ากรมธรรม์นั้น จะแบ่งเป็น 3 มูลค่า ได้แก่ มูลค่าเวนคืนเงินสด กรมธรรม์ใช้เงินสำเร็จ และการประกันภัยแบบขยายระยะเวลา โดยในบทความนี้เราจะเจาะจงไปที่ “มูลค่าเวนคืนเงินสด” ที่ใช้ในการคำนวณเงินคืนจากการขอเวนคืนกรมธรรม์

มูลค่าเวนคืนกรมธรรม์ คืออะไร?

มูลค่าเงินสด หรือมูลค่าเงินเวนคืน หรือมูลค่าเวนคืนกรมธรรม์ คือ มูลค่าเงินที่เราสามารถขอคืนได้ก่อนครบกำหนดที่บริษัทประกันภัยจะจ่ายเงินคืนตามที่ปรากฏไว้ในตารางมูลค่ากรมธรรม์ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้ว จะเริ่มมีมูลค่าเวนคืนเงินสดเกิดขึ้นหลังจากสิ้นปีที่ 2 เป็นต้นไป โดยตารางมูลค่ากรมธรรม์จะกำหนดมูลค่าเวนคืนเงินสดต่อจำนวนเงินเอาประกันภัยไว้ที่ 1,000 บาท

ตัวอย่างตารางมูลค่ากรมธรรม์ภัยต่อจำนวนเงินเอาประกันภัย 1,000 บาท

สิ้นปีที่ มูลค่าเวนคืนเงินสด (บาท)
1
2 5
3 15
4 25

ขอเวนคืนกรมธรรม์ได้เงินกี่บาท?

หลักการคำนวณง่าย ๆ ว่าเราจะได้เงินสดคืนหลังจากที่ขอเวนคืนกรมธรรม์ไปแล้วกี่บาท ให้ไปดูที่หน้าตารางมูลค่ากรมธรรม์ภัยต่อจำนวนเงินเอาประกันภัย 1,000 บาท ซึ่งจะอยู่ในกรมธรรม์ นำเอามูลค่าเวนคืนเงินสดในปีที่เราจ่ายเบี้ยไป มาคูณกับเงินทุนประกันที่ทำไว้ และหารด้วย 1,000 ก็จะได้ยอดเงินคืนหลังจากที่ทำการยกเลิกกรมธรรม์

ยกตัวอย่างเช่น

นางสาวจัสมิน ได้ทำประกันชีวิตทุนประกัน 500,000 บาท และได้จ่ายเบี้ยประกันไปแล้ว 4 ปี แต่มีเหตุที่ทำให้ไม่สามารถชำระเบี้ยต่อได้ และต้องการที่จะยกเลิกกรมธรรม์ จึงไปดูที่ตารางเวนคืนกรมธรรม์ท้ายเล่ม และสามารถคำนวณเงินคืนที่จะได้รับ ดังนี้

  • มูลค่าเวนคืนเงินสด 25
  • ทุนประกัน 500,000 บาท
  • จะได้รับเงินคืนเท่ากับ (25 x 500,000)/1,000 = 12,500 บาท

หมายเหตุ​ : มูลค่าเวนคืนเงินสดและเงื่อนไขในการคำนวณเงินคืนอาจแตกต่างกันไปในแต่ละกรมธรรม์ ควรศึกษาข้อมูลรายละเอียดของแต่ละกรมธรรม์ให้เรียบร้อยก่อนทำการยกเลิกกรมธรรม์

การเวนคืนกรมธรรม์ ทำยังไง?

การขอเวนคืนกรมธรรม์มีขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยากเลย เพียงแค่คุณเตรียมเอกสารที่บริษัทประกันภัยกำหนดไว้ให้พร้อม และส่งเอกสารไปที่บริษัทประกันภัย ซึ่งจะมีทั้งการยื่นด้วยตัวเอง ยืนผ่านตัวแทน หรือส่งเอกสารผ่านไปรษณีย์ หรือ E-mail หลังจากนั้นก็รอรับเงินคืนได้เลย ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วจะได้รับเงินคืนภายใน 7-14 วันทำการ

เอกสารเวนคืนกรมธรรม์ ใช้อะไรบ้าง?

  • สำเนาบัตรประชาชนของผู้ขอเวนคืน
  • สำเนาหน้าสมุดบัญชีธนาคาร
  • เล่มกรมธรรม์ประกันภัยตัวจริงที่ต้องการเวนคืน
  • แบบฟอร์มขอใช้สิทธิเวนคืนกรมธรรม์ พร้อมลงลายมือชื่อ

ขอเวนคืนกรมธรรม์กี่วันได้เงินคืน?

หลังจากที่ทำเรื่องขอเวนคืนกรมธรรม์ไปแล้ว ในกรณีที่ส่งเอกสารครบถ้วน ทางบริษัทประกันภัยจะใช้ระยะเวลาดำเนินการเรื่องเงินคืนประมาณ 7 – 14 วันทำการ โดยเงินจะถูกโอนไปยังบัญชีธนาคารที่ผู้ถือกรมธรรม์ได้ระบุไว้

เวนคืนกรมธรรม์ คืออะไร กี่วันได้เงินคืน ประกันติดโล่สรุปให้!


  • การขอเวนคืนกรมธรรม์ คือ การขอยกเลิกสัญญากรมธรรม์ที่ได้ทำไว้กับบริษัทประกันภัย เพื่อรับเงินสดจากการจ่ายเบี้ยประกันไปแล้วกลับคืนมา จะทำได้ก็ต่อเมื่อมีมูลค่าเวนคืนเงินสดเกิดขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะต้องถือกรมธรรม์อย่างน้อย 2 ปี
  • ทางบริษัทประกันภัยจะคำนวณเงินคืนโดยการใช้สูตร (มูลค่าเวนคืนเงินสด x ทุนประกัน)/1,000 = เงินที่จะได้รับ
  • เอกสารที่ต้องใช้ ได้แก่ สำเนาบัตรประชาชนของผู้ขอเวนคืน สำเนาหน้าสมุดบัญชีธนาคาร เล่มกรมธรรม์ประกันภัยตัวจริงที่ต้องการเวนคืน และแบบฟอร์มขอใช้สิทธิเวนคืนกรมธรรม์
  • หลังจากที่ส่งเอกสารไปแล้ว ทางบริษัทจะทำการตรวจสอบเอกสาร และดำเนินการเงินคืน ภายใน 7-14 วันทำการ

ข้อดีของการเวนคืนกรมธรรม์

นอกจากจะช่วยให้เราได้เงินก้อนมาหมุนเวียนค่าใช้จ่ายแล้ว การขอเวนคืนกรมธรรม์ยังมีข้อดีอีกหลายอย่าง ดังนี้

ยกเลิกประกันชีวิตที่ไม่เหมาะกับตนเอง

คนไทยส่วนใหญ่จะซื้อประกันชีวิตจากการถูกขายมากกว่าอยากซื้อ ซึ่งในบางครั้งก็อาจไปทำประกันชีวิตที่ไม่ตอบโจทย์กับไลฟ์สไตล์ของตัวเองได้ เช่น ทำกรมธรรม์ที่มีทุนประกันสูงมาก แต่ไม่ได้มีภาระหนี้สินให้ต้องรับผิดชอบ ทำให้ต้องจ่ายค่าเบี้ยประกันสูงเกินจำเป็น

บริหารรายจ่ายได้ดีขึ้น

มีหลายครั้งที่หลังจากทำประกันชีวิตไปแล้ว รายได้ที่เคยได้รับต่อเดือนลดน้อยลงจนไม่สามารถจ่ายค่าเบี้ยประกันได้ และทำให้ภาระการจ่ายเบี้ยประกันมากกว่า 10% ของเงินได้สุทธิหลังหักภาษี การยกเลิกกรมธรรม์ไปก่อนก็อาจช่วยให้เราจัดการกับรายรับรายจ่ายได้ดีขึ้น

เปลี่ยนไปทำกรมธรรม์ใหม่ที่ให้ประโยชน์มากกว่า

ในปัจจุบันมีประกันให้เลือกทำหลากหลายแบบมาก และแต่ละช่วงอายุก็จะมีประกันที่เหมาะสมแตกต่างกันไป เช่น ประกันชีวิตแบบบำนาญ สำหรับคนวัยกลางคนที่กำลังวางแผนเกษียณ หรือประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ สำหรับสะสมทุนการศึกษาให้กับลูก หรือไว้ใช้ประกอบธุรกิจในอนาคต

ข้อเสียของการเวนคืนกรมธรรม์

ข้อเสียของการเวนคืนกรมธรรม์

แม้ว่าการเวนคืนกรมธรรม์จะมีข้อดี แต่ก็มีข้อเสียเช่นกัน ซึ่งควรจะต้องศึกษารายละเอียดให้ดีก่อนที่จะยกเลิกกรมธรรม์ โดยข้อเสียของการเวนคืนกรมธรรม์ มีดังนี้

หากต้องการยกเลิก จะต้องขอยกเลิกกรมธรรม์ (Free look period) ภายใน 15 วัน

หากคุณไปทำประกันชีวิต แล้วเพิ่งรู้ตัวว่าประกันชีวิตที่ทำไม่ตอบโจทย์ความต้องการ และต้องการเปลี่ยนไปทำแผนประกันชีวิตอื่น ๆ คุณจะต้องทำเรื่องขอยกเลิกกรมธรรม์ประกันชีวิตภายใน 15 วัน หลังจากที่เซ็นรับเอกสารกรมธรรม์ประกันชีวิต โดยคุณจะได้รับเบี้ยประกันภัยคืนหลังหักด้วยค่าใช้จ่ายฉบับละ 500 บาท และหักค่าตรวจสุขภาพ (ถ้ามี) แต่ถ้าเป็นการขายผ่านทางโทรศัพท์ สามารถยกเลิกได้ภายใน 30 วัน 

ถ้าหากเลย 15 วันไปแล้ว คุณจะได้รับเงินคืนในรูปแบบของมูลค่าเงินเวนคืน ซึ่งจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อถือกรมธรรม์ไปแล้วอย่างน้อย 2 ปี และส่วนใหญ่จะได้เงินคืนน้อยกว่าเบี้ยที่จ่ายไป

หากต้องการกลับมาทำประกันชีวิต อาจมีค่าเบี้ยประกันมากกว่าเดิม

เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น การซื้อประกันชีวิตใหม่ในแบบเดียวกันจะต้องจ่ายค่าเบี้ยประกันแพงมากกว่าเดิมดังนั้นคุณจะต้องคิดให้ดีก่อนที่จะตัดสินใจทำเรื่องเวนคืน อย่างไรก็ตาม หากซื้อประกันชีวิตในรูปแบบอื่น ๆ ก็อาจจะมีค่าเบี้ยประกันที่น้อยกว่า เท่ากัน หรือแพงกว่าเดิมก็ได้

อาจไม่ให้ความคุ้มครองปัญหาสุขภาพที่กังวล

การที่เรายกเลิกประกันไปแล้วกลับมาทำใหม่ และมีปัญหาสุขภาพอยู่ โดยเฉพาะโรคร้ายแรงต่าง ๆ อย่าง โรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดสมองโป่งพอง หรือโรคอัลไซเมอร์ บริษัทประกันชีวิตอาจไม่รับ หรือถ้าจะรับก็อาจต้องจ่ายค่าเบี้ยประกันเพิ่ม หรือยกเว้นไม่คุ้มครองความเสียหายของโรคที่เป็นอยู่ได้

ไม่สามารถชำระเบี้ยประกันภัยได้ แต่ยังต้องการรับความคุ้มครอง ทำได้ไหม?

สำหรับใครที่มีปัญหาเรื่องการเงิน ไม่สามารถชำระเบี้ยประกันภัยได้ แต่ก็ยังต้องการได้รับความคุ้มครองอยู่ ยังไม่อยากยกเลิกกรมธรรม์ ยังมีอีกหลายทางเลือกที่ช่วยให้คุณได้เงินก้อนมาหมุนเวียนค่าใช้จ่ายชั่วคราว ซึ่งคุณสามารถปรึกษากับเจ้าหน้าที่ของบริษัทประกันภัยได้ ยกตัวอย่างเช่น

  • การกู้กรมธรรม์ เป็นการกู้เงินจากจำนวนมูลค่าเงินเวนคืนของกรมธรรม์ที่ถืออยู่ และจะต้องเสียดอกเบี้ยตามเงื่อนไขที่บริษัทประกันภัยกำหนด
  • เปลี่ยนไปทำกรมธรรม์แบบขยายเวลา เหมาะสำหรับคนที่ไม่ต้องการจ่ายเบี้ยประกันแล้ว และไม่ได้ต้องการรับเงินก้อนคืน โดยจะเป็นการลดระยะเวลาคุ้มครองลงมาแทน เช่น ลดระยะเวลาคุ้มครองจาก 20 ปี เป็น 10 ปี เป็นต้น
  • เปลี่ยนไปทำกรมธรรม์ใช้เงินสำเร็จ เหมาะสำหรับคนที่ไม่ต้องการจ่ายเบี้ยประกันแล้ว และไม่ได้ต้องการรับเงินก้อนคืนเช่นกัน แต่จะไม่ส่งผลต่อระยะเวลาการคุ้มครอง แต่จะไปลดในส่วนของวงเงินคุ้มครองในกรมธรรม์นั้น ๆ แทน

“สินเชื่อเงินติดล้อ” ตัวช่วยแก้ปัญหาการเงินสำหรับคนมีรถ

หมดกังวลเรื่องหมุนเงินไม่ทัน เงินติดล้อพร้อมช่วยคุณจัดการกับทุกปัญหาการเงินติดขัดให้ผ่านไปได้ง่าย ๆ ด้วยสินเชื่อเงินติดล้อที่มาพร้อมกับบัตรติดล้อ อนุมัติไว ได้เงินเร็ว ไม่ต้องมีคนค้ำ ไม่ต้องโอนเล่ม สามารถยืดระยะเวลาการผ่อนได้ ช่วยลดภาระต่อเดือนได้อย่างมาก ขอเพียงแค่คุณมีรถยนต์อยู่ในมือ ไม่ว่าจะเป็น รถเก๋ง-กระบะ รถมอเตอร์ไซค์ รถบรรทุก จะผ่อนรถหมดแล้ว หรือยังผ่อนอยู่ ก็สามารถนำรถมาทำสินเชื่อกับเงินติดล้อได้เลย!

สรุปเรื่องการเวนคืนกรมธรรม์

การเวนคืนกรมธรรม์ คือ การยกเลิกกรมธรรม์ที่ได้ทำไว้กับบริษัทประกันภัย ไม่ว่าจะเป็น ประกันสุขภาพ ประกันมะเร็ง หรือประกันชีวิต หลังจากที่เรายกเลิกไปแล้วจะได้รับเงินคืนส่วนหนึ่งจากเบี้ยประกันที่จ่ายไปโดยคำนวณมาจากมูลค่าเงินเวนคืนที่กำหนดไว้ในตารางมูลค่ากรมธรรม์ภัยต่อจำนวนเงินเอาประกันภัย ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามเงื่อนไขของแต่ละกรมธรรม์ นับเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของคนที่ต้องการเปลี่ยนกรมธรรม์ หรือมีปัญหาเรื่องการเงิน ไม่สามารถจ่ายค่าเบี้ยประกันได้แล้ว หรือคนที่ต้องการเงินก้อนมาหมุนเวียนค่าใช้จ่าย

ขอบคุณข้อมูลจาก: SET Investnow, Luma



สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
สนใจ ประกันมะเร็ง
การกดส่งข้อมูลแสดงว่าคุณอ่านและรับทราบ
นโยบายความเป็นส่วนตัว เรียบร้อยแล้ว

บทความแนะนำ
  • ข้อสอบใบขับขี่พร้อมเฉลย ล่าสุด 2567
    รวมเฉลยข้อสอบใบขับขี่ 2566 อย่างละเอียด ไม่อยากสอบหลายรอบมาเตรียมตัวให้พร้อมก่อนสอบจริงกับแนวข้อสอบใบขับขี่ภาคทฤษฎี 50 ข้อพร้อมเฉลย
    215,184
  • รถเป็นรอยขูดทำไงดี เคลมประกันชั้น 1 ได้ไหม จ่ายค่าเสียหายส่วนแรกกี่บาท
    อยู่ๆ รถสุดที่รักก็โดนขูดเป็นรอยลึก หาตัวคนผิดก็ไม่ได้ คู่กรณีก็ไม่มี แล้วแบบนี้ประกันรถยนต์จะรับเคลมไหม ต้องจ่ายค่าทำสีรถใหม่เองหรือเปล่า ทำยังไงได้บ้าง?
    86,206
  • ไม่หลบรถพยาบาลเปิดไซเรน ระวังผิดกฎหมายรถฉุกเฉิน และเจตนาฆ่า!
    รถพยาบาลฉุกเฉินเปิดไฟวับวาบและเปิดเสียงไซเรน คุณควรหลีกทางให้รถพยาบาลแบบด่วนๆ เพราะถ้าฝ่าฝืนทำตัวขวางโลกรู้ไหมว่าผิดกฎหมายรถฉุกเฉิน และมีเจตนาฆ่าด้วย!
    85,800