อาชีพที่มีความเสี่ยงสูงทำประกันได้ไหม วางแผนชีวิตยังไงดี

หลายคนอาจทำอาชีพที่เสี่ยงอันตรายกว่าอาชีพอื่น ๆ เพื่อหาเลี้ยงตัวเองและครอบครัว นอกจากการปฏิบัติตามมาตรการด้านความปลอดภัยแล้ว ควรให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพกาย และสุขภาพใจด้วย เพื่อลดความเสี่ยงที่จะได้รับบาดเจ็บ หรือเจ็บป่วยจากการทำงาน ผู้ที่ทำอาชีพที่มีความเสี่ยงสูงจึงอยากทำประกัน เพื่อเป็นหลักประกันให้กับตัวเองและครอบครัว หรือสร้างความมั่นคงทางการเงิน ถ้าวันหนึ่งเกิดอุบัติเหตุ หรือเจ็บป่วยจากการทำงานขึ้นมาจริง ๆ มาทำความเข้าใจกันว่า ผู้ที่ทำอาชีพที่มีความเสี่ยงสูงทำประกันได้ไหม

อาชีพที่มีความเสี่ยงสูงมีลักษณะเป็นยังไง

อาชีพที่มีความเสี่ยงสูง จะมีลักษณะงานที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพร่างกาย และจิตใจของผู้ปฏิบัติงานได้ง่ายกว่าอาชีพอื่น ๆ เช่น พนักงานก่อสร้าง นักดับเพลิง ตำรวจ ทหาร พนักงานในโรงงานอุตสาหกรรมบางประเภท คนงานเหมืองแร่ หรือชาวประมง โดยความเสี่ยงที่พบบ่อยจากการทำอาชีพที่อันตราย คือ

  • อุบัติเหตุจากการทำงาน

เป็นความเสี่ยงสูงสุดของอาชีพเสี่ยงภัย อาจเกิดจากการทำงานกับเครื่องจักร อุปกรณ์ หรือสภาพแวดล้อมที่อันตราย เสี่ยงเกิดอุบัติเหตุจนทำให้ผู้ปฏิบัติงานได้รับบาดเจ็บ พิการ หรือเสียชีวิตได้ เช่น การตกจากที่สูง การถูกของมีคมบาด การได้รับบาดเจ็บจากไฟไหม้ หรือการถูกสิ่งของหนักทับ 

  • โรคจากการทำงาน 

เป็นอีกความเสี่ยงสำคัญที่เกิดจากสภาพแวดล้อมในการทำงาน การสัมผัสสารเคมี ฝุ่นละออง เสียงดัง การทำงานในพื้นที่ที่อากาศไม่ถ่ายเทเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจ โรคผิวหนัง ปัญหาระบบประสาท หรืออาจก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้

  • ผลกระทบด้านสุขภาพจิต

จากความเครียด ความกดดัน รวมถึงการเผชิญกับเหตุการณ์สะเทือนขวัญในที่ทำงาน ส่งผลให้เกิดภาวะซึมเศร้า นอนไม่หลับ หรือภาวะผิดปกติทางจิตใจได้ ดังนั้น การดูแลสุขภาพร่างกายและจิตใจ จึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ที่ทำอาชีพที่มีความเสี่ยงสูง

อาชีพที่มีความเสี่ยงสูงทำประกันได้ไหม

สำหรับผู้ที่ทำอาชีพที่มีความเสี่ยงสูง ต้องการสร้างหลักประกัน และความมั่นคงทางการเงินให้กับตัวเองและครอบครัว สามารถวางแผนทำประกันได้ ยกเว้นผู้ที่ทำอาชีพที่มีความเสี่ยงสูงสุด หรือขั้นอาชีพที่ 4 ตามขั้นอาชีพประกัน โดยบริษัทประกันอาจให้ผู้สมัครบางอาชีพ ต้องแสดงใบรับรองแพทย์ ตรวจร่างกาย หรือมีข้อจำกัดเรื่องความคุ้มครอง เช่น ไม่คุ้มครองอุบัติเหตุจากการทำงาน ดังนั้น ผู้ที่ทำอาชีพอันตราย ต้องศึกษารายละเอียด เปรียบเทียบเบี้ยประกัน และเงื่อนไขต่าง ๆ ก่อนตัดสินใจทำประกันทุกประเภท และเลือกแผนประกันที่มีความคุ้มครองเหมาะสมกับลักษณะงาน และความเสี่ยงของคุณ

ขั้นอาชีพประกันมีอะไรบ้าง ส่งผลต่อค่าเบี้ยประกันยังไง

ขั้นอาชีพที่มีความเสี่ยงสูงทำประกัน

เบี้ยประกัน ทุนประกัน สำหรับประกันชีวิตและประกันสุขภาพ บริษัทประกันจะพิจารณาจากปัจจัยความเสี่ยงต่าง ๆ หนึ่งในปัจจัยสำคัญคือ อาชีพของผู้เอาประกันภัย โดยจะแบ่งอาชีพออกเป็น 4 ระดับ ตามขั้นอาชีพประกัน ตั้งแต่อาชีพเสี่ยงต่ำ เสี่ยงปานกลาง เสี่ยงสูง และเสี่ยงอันตรายสูงมาก ดังนี้

ขั้นอาชีพที่ 1 อาชีพเสี่ยงต่ำ

ขั้น 1 อาชีพเสี่ยงต่ำ

อาชีพที่มีความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ หรืออันตรายน้อยที่สุด ได้แก่ กลุ่มคนที่ทำงานในออฟฟิศเป็นส่วนใหญ่ ไม่ต้องใช้เครื่องจักร หรืออุปกรณ์ที่เสี่ยงอันตราย เช่น พนักงานออฟฟิศ ผู้บริหาร แพทย์ ข้าราชการ อาจารย์ เป็นต้น บริษัทประกันจะคิดค่าเบี้ยประกันในอัตราปกติตามมาตรฐานทั่วไป

ขั้นอาชีพที่ 2 อาชีพเสี่ยงปานกลาง

ขั้น 2 อาชีพเสี่ยงปานกลาง

อาชีพที่ต้องทำงานนอกสถานที่เป็นบางช่วง มีการใช้เครื่องจักร หรืออุปกรณ์บางประเภทในการทำงาน ได้แก่ ผู้ปฏิบัติงานที่ใช้วิชาชีพ ต้องทำงานกลางแจ้งตลอดเวลา หรือกลุ่มอาชีพช่างฝีมือต่าง ๆ เช่น วิศวกร ช่างเชื่อมโลหะ ช่างซ่อมบำรุง ช่างก่อสร้าง ช่างไม้ เป็นต้น

ขั้นอาชีพที่ 3 อาชีพเสี่ยงสูง

ขั้น 3 อาชีพเสี่ยงสูง

อาชีพที่มีการใช้เครื่องจักร หรืออุปกรณ์บางประเภทในการทำงานเป็นหลัก และต้องทำงานนอกสถานที่เป็นประจำ เช่น พนักงานโรงงานอุตสาหกรรม นักแสดง นักดนตรี มัคคุเทศก์ พนักงานขับรถ นักข่าว เป็นต้น อาชีพเหล่านี้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ หรืออันตรายจากการทำงานสูง จึงต้องจ่ายค่าเบี้ยประกันสูงกว่าขั้นที่ 1-2 มาก และอาจมีข้อยกเว้น หรือข้อจำกัดเรื่องความคุ้มครองบางอย่าง

ขั้นอาชีพที่ 4 อาชีพเสี่ยงสูงมาก

ขั้น 4 อาชีพเสี่ยงสูงมาก

อาชีพที่มีความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ หรืออันตรายจากการทำงานสูงที่สุด เช่น นักแสดงผาดโผน คนงานก่อสร้าง เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย พนักงานส่งพัสดุ ตำรวจ ทหาร นักดับเพลิง เป็นต้น อาชีพเหล่านี้อาจไม่สามารถทำประกันได้เลย หรือต้องจ่ายค่าเบี้ยประกันสูงมาก และอาจมีข้อยกเว้น ข้อจำกัดเรื่องความคุ้มครองหลายอย่าง

สรุป วางแผนชีวิตให้ดี ถ้าทำอาชีพที่มีความเสี่ยงสูง

เจ้าของบริษัทบางแห่งจึงได้มีการทำประกันอุบัติเหตุแบบกลุ่มให้พนักงาน เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับครอบครัวของผู้ปฏิบัติงาน ว่าพวกเขาจะได้รับการดูแลรักษา และได้รับค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันอุบัติเหตุ นอกจากนี้ ผู้ที่ทำอาชีพที่มีความเสี่ยงสูงควรวางแผนตรวจสุขภาพประจำปี หาวิธีเก็บเงินง่าย ๆ หรือทำประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล เพื่อเป็นหลักประกันในการใช้ชีวิต

ใครไม่รู้ว่าจะทำประกันอุบัติเหตุที่ไหนดี ที่คุ้มครองตัวเองและครอบครัว ทั้งค่ารักษาพยาบาลและเงินชดเชยรายวัน หรือกำลังสงสัยว่าอาชีพตัวเองทำประกันได้ไหม ประกันติดโล่เราพร้อมให้คำปรึกษา เลือกแผนประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล ที่มีความคุ้มครองเหมาะสมกับลักษณะงาน และความเสี่ยงให้กับคุณตลอด 24 ชั่วโมง



สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
สนใจ ประกันอุบัติเหตุ
การกดส่งข้อมูลแสดงว่าคุณอ่านและรับทราบ
นโยบายความเป็นส่วนตัว เรียบร้อยแล้ว

บทความแนะนำ

  • ข้อสอบใบขับขี่พร้อมเฉลย ล่าสุด 2567

    รวมเฉลยข้อสอบใบขับขี่ 2566 อย่างละเอียด ไม่อยากสอบหลายรอบมาเตรียมตัวให้พร้อมก่อนสอบจริงกับแนวข้อสอบใบขับขี่ภาคทฤษฎี 50 ข้อพร้อมเฉลย
    162,905
  • 10 รุ่นมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าขายในไทย

    10 รุ่น มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า 2024 น่าสนใจ ขายในไทย จดทะเบียนได้

    รวม 10 รุ่น มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าจดทะเบียนได้ มีขายในไทย 2024 พร้อมแนะนำวิธีเลือกมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าให้ตอบโจทย์การใช้งาน และการทำประกันรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า
    32,516
  • ใบขับขี่ประเภท 2 และใบขับขี่ บ.2 ท.2 ขับรถอะไรได้บ้าง?

    หากขับรถเพื่อขนส่งสินค้าต้องรู้ เพื่อเลือกทำใบขับขี่ประเภท 2 ไม่ว่าเป็นใบขับขี่ บ.2 หรือใบขับขี่ ท.2 ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย หากไม่อยากโดนปรับ
    27,122