ปวดหัว ตัวร้อน ปวดเมื่อย หนาวสั่น รวมอาการไข้ที่ควรรักษาด่วน
ไข้เป็นอาการที่พบได้บ่อยและหลายคนมักคิดว่าเป็นเรื่องธรรมดา แต่ในความเป็นจริง อาการปวดหัว ตัวร้อน ปวดเมื่อย หนาวสั่น อาจเป็นสัญญาณของโรคร้ายแรงที่ต้องรีบรักษา ถ้าเกิดคุณหรือคนใกล้ชิดเป็นไข้หลายวันไม่หาย และกำลังหาข้อมูลเกี่ยวกับอาการคนเป็นไข้ เราจะพาคุณมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับอาการไข้สูง หนาวสั่น ปวดเมื่อย ปวดหัว เผยสาเหตุ และวิธีป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำ พร้อมรวมอาการป่วยที่ควรไปพบแพทย์ก่อนจะสาย
คนเป็นไข้ มีอาการยังไง?
เมื่อพูดถึงไข้ หลายคนอาจนึกถึงแค่อาการปวดหัว ตัวร้อน ปวดเมื่อย หนาวสั่น แต่จริงๆ แล้ว อาการของคนเป็นไข้มีหลากหลายและซับซ้อนมากกว่านั้น ซึ่งอาการของคนเป็นไข้ มักจะมีอาการดังนี้
- อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น : เมื่อเป็นไข้อุณหภูมิอาจสูงขึ้นถึง 38-39 องศาเซลเซียส หรืออาจไข้ขึ้นสูงมากกว่านั้น
- ปวดหัว : นอกจากอาการไข้สูงแล้ว ยังมีอาการปวดหัวร่วมด้วย ความรุนแรงอาจแตกต่างกันไปในแต่ละคน
- ปวดเมื่อยตามร่างกาย : คุณอาจรู้สึกปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ ร่างกายกำลังต่อสู้กับเชื้อโรค ทำให้มีการอักเสบและเจ็บปวด
- หนาวสั่น : คุณอาจรู้สึกหนาวและสั่นอย่างรุนแรง เนื่องจากร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ
- อ่อนเพลีย ไม่มีแรง : เมื่อมีไข้ คลื่นไส้ เบื่ออาหาร คุณจะรู้สึกอ่อนเพลียและไม่มีแรงอย่างมาก แม้จะขยับตัวเพียงเล็กน้อย
- หายใจเร็ว : ในขณะที่เป็นไข้ ร่างกายจะต้องการออกซิเจนจำนวนมากกว่าปกติ เพื่อต่อสู้กับเชื้อโรคในตัวของคุณ
- คลื่นไส้และอาเจียน : บางคนอาจมีอาการคลื่นไส้และอาเจียนร่วมด้วยเมื่อเป็นไข้ และอาจทำให้เกิดภาวะขาดน้ำ
สาเหตุที่ทำให้ป่วย ปวดหัว ตัวร้อน ปวดเมื่อย หนาวสั่น
อาการป่วย ไข้สูง หนาวสั่น ปวดเมื่อย ปวดหัว สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อหรือการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย มาดูกันว่าสาเหตุหลักๆ มีอะไรบ้าง
- การติดเชื้อไวรัส
- การติดเชื้อแบคทีเรีย
- ภาวะร่างกายขาดน้ำ
- เกิดจากความเครียดสะสม
- ตากแดดนานเกินไป
- ออกกำลังกายหนักเกินไป
- ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด
เป็นไข้แบบไหน ถึงควรรีบพบแพทย์?
แม้ว่าอาการไข้ส่วนใหญ่จะสามารถหายได้เองภายในไม่กี่วัน แต่มีในบางกรณี หากเป็นไข้หลายวันไม่หาย อาจเป็นสัญญาณของโรคร้าย ซึ่งถ้าคุณป่วยมาหลายวัน และยังไม่มีท่าทีจะดีขึ้นสักที ลองเช็กอาการเหล่านี้ ถ้าคุณกำลังเป็นอยู่ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที
- มีไข้ขึ้นสูงเกิน 39.4 องศาเซลเซียส
- ทานยาลดไข้แล้วอาการไม่ดีขึ้น
- เป็นไข้และเริ่มมีผื่นขึ้นตามตัว
- มีไข้ร่วมกับอาการปวดท้องรุนแรง
- มีไข้ร่วมกับอาการหายใจลำบาก
ใครบ้างที่มีความเสี่ยงเป็นไข้
การป่วยมีไข้สูง หนาวสั่น สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่ก็จะมีคนบางกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงกว่าคนทั่วไป และอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ง่าย ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้จะเป็นใครบ้าง มาดูกัน
1.เด็กทารกและเด็กเล็ก
เด็กทารกและเด็กเล็กมีระบบภูมิคุ้มกันที่ยังไม่แข็งแรง ทำให้มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อและเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการเป็นไข้ โดยเฉพาะทารกแรกเกิดที่มีอายุยังไม่ถึง 3 เดือน ถ้าลูกหรือหลานของคุณมีอาการปวดหัว ตัวร้อน ปวดเมื่อย หนาวสั่น เด็กเหล่านี้ควรได้รับการดูแลจากแพทย์ทันทีเมื่อมีไข้
2.ผู้สูงอายุ
นอกจากเด็กทารกที่มีระบบภูมิคุ้มกันที่ไม่แข็งแรงแล้ว ผู้สูงอายุก็เป็นอีกหนึ่งกลุ่มที่มีระบบภูมิคุ้มกันที่เป็นปัญหา อ่อนแอลงตามวัย และส่วนใหญ่มักมีโรคประจำตัวที่ทำให้ร่างกายต้านทานโรคได้น้อยลง และในผู้สูงอายุบางรายมีไข้ คลื่นไส้ เบื่ออาหาร แต่มีอาการของไข้ที่ไม่ชัดเจน ทำให้การวินิจฉัยและรักษาทำได้ยากและใช้เวลานาน
3.ผู้ที่มีโรคประจำตัว
ผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง หากเป็นไข้หลายวันไม่หาย อาจมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากไข้ ซึ่งโรคประจำตัวที่มักจะเป็นกัน และเป็นโรคที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการแทรกซ้อน ได้แก่ โรคเบาหวาน, โรคหัวใจและหลอดเลือด, โรคปอดเรื้อรัง, โรคถุงลมโป่งพอง, โรคไตเรื้อรัง, โรคตับเรื้อรัง ทางที่ดีเราแนะนำให้คุณหมั่นดูแลตัวเอง เพื่อให้ห่างไกลจากอาการไข้สูงที่กำลังเป็นอยู่
วิธีป้องกันไม่ให้ปวดหัว ตัวร้อน ปวดเมื่อย หนาวสั่น
การป้องกันอาการไข้สูง หนาวสั่น ปวดเมื่อย ปวดหัว เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้คุณมีสุขภาพที่ดีและลดความเสี่ยงในการเจ็บป่วยได้ ซึ่งวิธีป้องกันเบื้องต้นไม่ให้เป็นไข้ มีดังนี้
- รักษาสุขอนามัย : ล้างมือบ่อยๆ หลีกเลี่ยงการสัมผัสตา จมูก และปากด้วยมือที่ไม่สะอาด
- สร้างภูมิคุ้มกัน : ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ออกกำลังกาย นอนอย่างน้อยวันละ 7-8 ชม.
- ไม่อยู่ใกล้ผู้ป่วย : ให้ใส่หน้ากากอนามัย ใส่หน้ากากอนามัย ถ้าจำเป็นต้องใกล้ชิดผู้ป่วย
- ทานอาหารที่มีประโยชน์ : ทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ ดื่มน้ำสะอาด ล้างผลไม้ก่อนทานทุกครั้ง
- ตรวจสุขภาพประจำปี : รับวัคซีนตามคำแนะนำแพทย์ ตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอ
- ดูแลสุขภาพจิต : จัดการความเครียด เช่น อ่านหนังสือ ฟังเพลง ดูหนัง ดูซีรีย์
สรุป ถ้าปวดหัว ตัวร้อน ปวดเมื่อย หนาวสั่น ควรทำยังไง?
ถ้าคุณมีอาการไข้ขึ้นสูงและมีอาการปวดหัว ตัวร้อน ปวดเมื่อย หนาวสั่นร่วมด้วย ซึ่งเป็นอาการของคนเป็นไข้ สิ่งสำคัญที่สุดคือต้องดูแลตัวเองและเฝ้าสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด การดูแลตัวเองเมื่อมีอาการป่วยที่บ้านสามารถทำได้หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการนอนพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำมากๆ และถ้ามีไข้สูงควรเช็ดตัวด้วยน้ำอุ่น และกินยาลดไข้ในปริมาณที่ฉลากกำหนด แต่ถ้าเป็นไข้หลายวันไม่หาย แนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อตรวจและวินิจฉัยในอาการที่เป็นให้เร็วที่สุด